Page 13 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 13
9
5) ผู้เสียหายมีอุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม เช่น ผู้เสียหายต้อง
ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นถูกกล่าวหาว่าท า
การซ้อมทรมานเอง ผู้เสียหายจากการทรมานมักหวาดกลัวต่อการคุกคามของ
เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง จึงไม่กล้าร้องเรียนหรือแจ้งความ
13. จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนข้างต้น กสม. ได้มีข้อเสนอแนะไปยัง
หน่วยงานด้านความมั่นคงให้ มีการวางมาตรการในการป้องกันการทรมานในทุก
ขั้นตอนของการตรวจค้น ควบคุม จับกุม และคุมขังบุคคล เช่น การจัดท า
ทะเบียนผู้ถูกจับกุมหรือควบคุมตัว การตรวจร่างกายโดยแพทย์ การบันทึกข้อมูล
เมื่อมีการย้ายสถานที่ควบคุม/คุมขัง และการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังโดยกลไก
อิสระ เป็นต้น หากเป็นการควบคุมหรือจับกุมตัวตามกฎหมายพิเศษด้านความ
มั่นคงที่ไม่ต้องด าเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ควรมี
มาตรการคุ้มครองสิทธิ ขั้นพื้นฐานของผู้ถูกจับกุมที่สอดคล้องกับข้อ 14 ของ
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เช่น การได้รับ
แจ้งเหตุผลในการจับกุม การแจ้งการจับกุมให้ครอบครัวและญาติทราบ การให้
ญาติสามารถเข้าเยี่ยม ผู้ถูกจับกุมและมีโอกาสได้ปรึกษากับทนาย และการ
ก าหนดให้ต้องมีการน าตัวผู้ต้องสงสัยมาปรากฏตัวต่อศาลทุกครั้งที่ มีการขอ
ขยายระยะเวลาการควบคุมตัวเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ต้องสงสัยหรือทนายความ
คัดค้านการควบคุมตัวต่อศาลได้ รวมทั้งจะท าให้เห็นได้ว่าผู้ต้องสงสัยมีร่องรอย
การถูกซ้อมทรมานหรือไม่ นอกจากนี้ ควรมีการปรับปรุงกระบวนการซักถามผู้
ต้องสงสัยโดยไม่ใช้วิธีการรุนแรงและการซักถามควรท าโดยพนักงานสอบสวนที่มี
ความเชี่ยวชาญเท่านั้น