Page 10 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 10
6
ที่โหดร้ายฯ และการให้หลักประกันว่าจะมีการสืบสวนสอบสวนคดีการทรมานโดย
พลันโดยปราศจากความล าเอียง อย่างไรก็ดี หากรัฐบาลจะใช้แนวทางปรับแก้
กฎหมายที่มีอยู่ ก็ควรปรับนิยามของการทรมานในร่าง พ.ร.บ. แก้ไขประมวล
กฎหมายอาญาให้สอดคล้องกับข้อ 1 ของอนุสัญญาฯ อย่างครบถ้วน ทั้งในส่วน
ของเจตนาพิเศษของการทรมานและผลกระทบทางจิตใจที่ไม่ควรมีข้อจ ากัดว่า
ต้องเป็นผลกระทบในระยะยาวเท่านั้น นอกจากนี้ ควรมีการปรับเนื้อหาในส่วน
ของเจ้าพนักงานของรัฐให้ครอบคลุม และควรมีการระบุให้การกระท าอื่นที่
โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือการประติบัติ หรือการลงโทษที่ย่ ายีศักดิ์ศรีตามข้อ 16
ของอนุสัญญาฯ เป็นความผิดอาญาอย่างชัดแจ้งและมีบทโทษที่เหมาะสมตาม
ข้อสังเกตของ กสม. ที่กล่าวแล้วในข้อ 8 ข้างต้น
10. แม้ว่ารัฐบาลจะได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าจะสร้างหลักประกันความ
มั่นคงในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ และจะด าเนินการปฏิรูปกฎหมายรวมถึง
การบังคับใช้กฎหมายให้เป็นไปตามหลักนิติธรรมและหลักสิทธิมนุษยชน และ
แม้ว่าในแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552-2556) จะได้มีการระบุ
ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับ
สนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนฉบับต่างๆ โดยการปรับปรุงกฎหมาย กลไกทาง
กฎหมาย และการบังคับใช้กฎหมาย โดยในส่วนของอนุสัญญาต่อต้านการ
ทรมานฯ จะมีการเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการต่อต้านการทรมานเข้าสู่การ
พิจารณาของรัฐสภา ตลอดจนการปรับปรุงกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
กับการเยียวยาผู้เสียหาย แต่การด าเนินการดังกล่าวค่อนข้างมีความล่าช้าเมื่อ
พิจารณาว่าประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ตั้งแต่ปี 2550