Page 33 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 33
29
กระท าความผิดที่ท าให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือท าให้ผู้เสียหาย
ได้รับความเสื่อมเสียต่อเสรีภาพในร่างกาย ชื่อเสียง หรือทรัพย์สิน อย่างไรก็ดี
ในทางปฏิบัติ ผู้กระท าความผิดมักไม่มีความสามารถในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
ได้ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและ
ค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 ขึ้นเพื่อรองรับสิทธิของบุคคลที่ได้รับ
ความเสียหายจากการกระท าความผิดอาญาของผู้อื่นและไม่มีโอกาสได้รับการ
บรรเทาความเสียหายโดยทางอื่น ในการได้รับการเยียวยาความเสียหาย ซึ่งเป็น
สิทธิที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้นรับรองไว้ในมาตรา
245 และ 246 และรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันรับรองไว้ในมาตรา 32
46. อย่างไรก็ดี การร้องขอค่าตอบแทนของผู้เสียหายในคดีอาญาตาม
พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายฯ ยังมีข้อจ ากัดบางประการ บุคคลที่มีสิทธิ
ร้องขอค่าตอบแทนตามกฎหมายฉบับนี้ได้จ ากัดอยู่เฉพาะผู้เสียหายจากการ
กระท าความผิดบางประเภทในประมวลกฎหมายอาญาเท่านั้น ได้แก่ ความผิด
เกี่ยวกับเพศ (มาตรา 276-287) และความผิดต่อชีวิตและร่างกาย (มาตรา 288-
308) ส่วนค่าตอบแทนที่ผู้เสียหายอาจได้รับประกอบด้วย (1) ค่าใช้จ่ายในการ
รักษาพยาบาล รวมถึงค่าการฟื้นฟูสภาพทางร่างกายและจิตใจเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่
เกิน 50,000 บาท (2) ค่าขาดประโยชน์ในการท ามาหาได้ระหว่างที่ไม่สามารถ
ประกอบการงานได้ตามปกติวันละไม่เกิน 200 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี (3)
กรณีเสียชีวิต ค่าตอบแทนการเสียชีวิตและค่าจัดการศพไม่เกิน 120,000 บาท
และค่าขาดอุปการะเลี้ยงดูไม่เกิน 30,000 บาท และ (4) ค่าตอบแทนความ
เสียหายอื่นตามที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายที่ได้รับการจัดตั้ง
ขึ้นตามพระราชบัญญัติฯ เห็นสมควรไม่เกิน 30,000 บาท