Page 32 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 32
28
2546 ที่ก าหนดว่า ในกรณีที่พยานในคดีอาญาอาจไม่ได้รับความปลอดภัย
พนักงานสืบสวนสอบสวน ศาล หรือส านักงานคุ้มครองพยาน อาจจัดให้พยานอยู่
ในความคุ้มครองได้ตามที่เห็นสมควรหรือตามที่พยานหรือบุคคลอื่นใดที่มี
ประโยชน์เกี่ยวข้องร้องขอ รวมถึงการให้ความคุ้มครองบุคคลอื่นที่มีความสัมพันธ์
ใกล้ชิดกับพยานที่อาจได้รับความไม่ปลอดภัย จากการที่พยานจะมาให้ข้อมูลแก่
เจ้าหน้าที่ตามที่พยานได้ร้องขอ ปัจจุบันการคุ้มครองพยานเป็นภารกิจที่อยู่ภายใต้
การดูแลของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม อย่างไรก็ดี กสม.
ได้รับทราบว่าจะมีการโอนภารกิจด้านการคุ้มครองพยานไปอยู่ภายใต้การดูแล
ของกรมสอบสวนคดีพิเศษเนื่องจากกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพมีข้อจ ากัดด้าน
บุคลากร ซึ่ง กสม. มีข้อห่วงกังวลว่าการโอนภารกิจด้านการคุ้มครองพยานไปอยู่
กับหน่วยงานที่มีอ านาจหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนคดีอาญาอาจส่งผลกระทบ
ต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในชีวิตของพยานในกรณีที่เจ้าหน้าที่รัฐหรือ
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานนั้นเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระท าทรมาน
44. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรเร่งรัดการแก้ไขมาตรา 90 ของประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาเพื่อให้ความคุ้มครองบุคคลที่กล่าวอ้างว่าถูกกระท าทรมาน
โดยเร็ว และควรทบทวนการโอนภารกิจการคุ้มครองพยานไปอยู่กับกรมสอบสวน
คดีพิเศษ กสม. เห็นว่าการมอบหมายให้กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบ
การคุ้มครองพยานมีความเหมาะสมแล้ว โดยรัฐควรสนับสนุนบุคลากรและ
งบประมาณให้แก่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างเพียงพอเพื่อให้สามารถ
คุ้มครองพยานในคดีอาญาได้อย่างเต็มที่
45. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 44/1 และประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 รับรองสิทธิของผู้เสียหายในการร้องขอต่อ
ศาลตามข้อ 14 ของอนุสัญญาฯ เพื่อขอรับค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องจากการ