Page 30 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 30
26
ของคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองของ กสม. พบว่า
ระหว่างเดือนมีนาคม – กรกฎาคม 2556 มีชาวโรฮิงญาเสียชีวิตรวม 8 ราย แม้ว่า
7 รายจะเสียชีวิตภายหลังการส่งตัวไปโรงพยาบาล แต่ก็เป็นการส่งตัวไปหลังจาก
ที่มีอาการป่วยหนักแล้ว ชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมส่วนใหญ่มีอาการขาดสารอาหาร
และอ่อนเพลียจากการเดินทางที่ยากล าบาก การดูแลทางการแพทย์ของชาว
โรฮิงญาจะมีเฉพาะเมื่อมีการรับตัวชาวโรฮิงญาเข้าห้องกักเท่านั้น โดยเป็นการมา
ดูแลผู้ต้องกักชาวโรฮิงญาเป็นตรวจเพื่อคัดแยกชาวโรฮิงญาที่มีเชื้อมาลาเรีย
หลังจากนั้น ไม่มีการตรวจรักษาอย่างต่อเนื่อง ในรายที่มีการตรวจรักษา มีปัญหา
ขาดแคลนล่ามในการสื่อสาร การรักษาจึงมักไม่ได้ผลดีและท าให้ผู้ต้องกักมีอาการ
หนักขึ้นจนเสียชีวิตในที่สุด
41. จากระยะเวลาการควบคุมตัวที่ที่ยาวนานและไม่มีก าหนดชัดเจนเนื่องจาก
ปัญหาในการส่งกลับประเทศต้นทางได้สร้างแรงกดดันต่อผู้ต้องกักชาวโรฮิงญาจน
ก่อเหตุความรุนแรงและพยายามหลบหนีออกจากสถานที่ควบคุมหลายแห่ง
นอกจากนี้ มีรายงานว่าทางการไทยได้ส่งกลับชาวโรฮิงญาโดยเป็นการน าไปส่งที่
ชายแดนบริเวณจังหวัดระนองโดยไม่ได้ส่งให้เจ้าหน้าที่ของพม่า (Soft
deportation) มีการผลักดันผู้ต้องกักชาวโรฮิงญาจ านวนหนึ่งไปยังบริเวณ
ชายแดนไทย-มาเลเซีย และมีการเรียกเงินจากญาติของผู้ต้องกักชาวโรฮิงญาใน
มาเลเซียในการพาผู้ต้องกักไปส่งที่ชายแดนไทย-มาเลเซีย หรือพาเข้าไปใน
ประเทศมาเลเซีย ผู้ต้องกักรายใดที่ญาติไม่มีเงินเพียงพออาจถูกขายต่อให้ไปเป็น
แรงงานในเรือประมงหรือถูกท าร้ายจนเสียชีวิต
42. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลไทยควรให้ความคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่ชาวโรฮิงญา
ที่ถูกจับกุมในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การดูแลด้านสุขอนามัยและการ
รักษาพยาบาลชาวโรฮิงญาที่เจ็บป่วยอย่างเหมาะสม ในขณะเดียวกัน รัฐบาลควร