Page 35 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 35
31
จิตใจตามรายงานของแพทย์และระยะเวลาที่ผู้ที่อยู่ในความดูแลของผู้เสียหายควร
ได้รับการอุปการะอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าอัตราที่ใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน ส่วนค่าขาดประโยชน์ในการท ามาหาได้ควรมีการปรับให้สอดคล้องกับ
ค่าแรงขั้นต่ าเป็นอย่างน้อย โดยปัจจุบันอัตราค่าแรงขั้นต่ าของประเทศอยู่ที่ 300
บาทต่อวัน
49. จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้ของ กสม. พบว่า ผู้เสียหายซึ่งเป็นเหยื่อของการถูกซ้อมทรมานได้รับ
บาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจ บางรายเสียชีวิต แต่ไม่มีการรักษาพยาบาลและ
การติดตามการรักษาพยาบาลและการฟื้นฟูร่างกายและสภาพจิตใจอย่างต่อเนื่อง
หลังจากเริ่มเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2547
รัฐบาลได้ออกหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจาก
เหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในปี 2548 โดยรัฐจะให้เงิน
ช่วยเหลือประชาชนที่เสียชีวิตรายละ 100,000 บาท และผู้ที่ทุพพลภาพรายละ
80,000 บาท ต่อมา ในปี 2555 รัฐบาลได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้ความ
ช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้
เพื่อให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ส าหรับผู้ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงทาง
การเมืองในช่วงปลายปี 2548-2553 ตามหลักเกณฑ์ใหม่ รัฐจะให้เงินช่วยเหลือ
ประชาชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์รุนแรงเพิ่มขึ้นจากรายละ 100,000 บาท เป็น
500,000 บาท และผู้ทุพพลภาพจะได้รับเงินช่วยเหลือเพิ่มขึ้นจากรายละ
80,000 บาท เป็น 500,000 บาท โดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงปี 2547 ด้วย แต่ใน
กรณีที่บุคคลบาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์เฉพาะที่สืบเนื่องจากการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เช่น เหตุการณ์ที่มัสยิดกรือเซะและเหตุการณ์กรณีตาก
ใบ รัฐบาลได้เห็นชอบให้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ทายาทของผู้เสียชีวิตและผู้ที่ทุพพล