Page 31 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 31
27
พิจารณาทางเลือกอื่นแทนการควบคุมตัวชาวโรฮิงญาไว้ในห้องกักของ สตม. โดย
การจัดสถานที่พักพิงชั่วคราวให้แก่กลุ่มโรฮิงญาและเปิดโอกาสให้องค์การระหว่าง
ประเทศและองค์กรการกุศลเอกชนเข้าไปให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรม
หรืออนุญาตให้กลุ่มโรฮิงญาท างานได้เป็นการชั่วคราวตามมาตรา 13 ของ
พระราชบัญญัติการท างานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2551 และควรมีกระบวนการคัด
กรองเพื่อแยกชาวโรฮิงญาที่เป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และมีสถานะเป็นผู้ลี้
ภัยเพื่อให้การคุ้มครองตามความเหมาะสม ในระดับนโยบาย รัฐบาลไทยควร
ประสานงานกับสถานเอกอัครราชทูตพม่าและบังกลาเทศเพื่อให้รัฐบาลประเทศ
ทั้งสองเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาชาวโรฮิงญา ทั้งปัญหาต้นเหตุใน
ประเทศต้นทางและปัญหาเฉพาะหน้าส าหรับกลุ่มที่อยู่ในประเทศไทย รวมทั้ง
แสวงหาความร่วมมือจากกลุ่มประชาคมอาเซียนในการแก้ปัญหาชาวโรฮิงญาอ
ย่างยั่งยืน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยควรด าเนินการปราบปรามบุคคลที่เกี่ยวข้องกับ
การน าชาวโรฮิงญาเข้าประเทศอย่างเด็ดขาด ทั้งนายหน้าที่เป็นคนไทย พม่าและ
บังกลาเทศ รวมถึงเจ้าหน้าที่ของไทยที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการค้า
มนุษย์
การคุ้มครองผู้เสียหายและการเยียวยา
43. รัฐบาลอยู่ระหว่างด าเนินการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา 9 0 เพื่อคุ้มครองบุคคลจากการถูกกระท าทรมานตามข้อ 13 ของ
อนุสัญญาฯ โดยให้บุคคลที่กล่าวอ้างว่าถูกกระท าทรมานหรือบุคคลอื่น ได้แก่
พนักงานอัยการ พนักงานสอบสวน หรือบุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์ของผู้เสียหาย
สามารถยื่นค าร้องต่อศาลเพื่อไต่สวนกรณีดังกล่าวและให้ศาลสามารถมีค าสั่ง
ก าหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราว รวมทั้งจัดให้มีการแก้ไขเยียวยาความเสียหาย
ที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้ ไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ.