Page 36 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 36
32
ภาพรายละ 4,000,000 – 7,500,000 บาท โดยการให้เงินช่วยเหลือในอัตรานี้ให้
ใช้กับกรณีบุคคลถูกบังคับให้สูญหายที่มีข้อมูลน่าเชื่อว่ามีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไป
เกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจากรายงานของ ศอ.บต. ประจ าปี 2555 มีข้อมูลว่า รัฐได้ให้
ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และทุพพลภาพจากการกระท าของ
เจ้าหน้าที่รัฐที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้แล้ว
จ านวน 528 ราย เป็นเงิน 1,112.35 ล้านบาท แบ่งเป็นผู้เสียหายจากเหตุการณ์
เฉพาะกรณี 473 ราย และกรณีถูกละเมิดสิทธิอื่นๆ รวมถึงกรณีสูญหาย 55 ราย
อย่างไรก็ดี การให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐใน
กรณีทั่วไปที่ไม่ได้เกิดขึ้นในจังหวัดชายแดนภาคใต้ จะเป็นไปตามพระราชบัญญัติ
ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จ าเลยในคดีอาญา พ.ศ.
2544 เท่านั้น (แต่ผู้เสียหายยังสามารถใช้สิทธิทางศาลในการเรียกร้องค่าสินไหม
ทดแทนได้) ซึ่งมีอัตราการให้ความช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้เสียหายจากการ
ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐที่แตกต่างจากกรณีผู้ได้รับผลกระทบในบริบทของ
เหตุการณ์รุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมาก
50. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การให้ความช่วยเหลือ
และเยียวยาผู้เสียหายจากการถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐโดยมุ่งหมายให้ผู้เสียหาย
ได้รับการชดเชยและการเยียวยาที่พอเพียงและเป็นธรรม เหมาะสมกับความ
เสียหายที่เกิดขึ้น การก าหนดหลักเกณฑ์ดังกล่าวควรค านึงถึงหลักความเสมอภาค
และการไม่เลือกปฏิบัติ เช่น บุคคลใดก็ตามที่ถูกทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐจน
เสียชีวิตควรได้รับการชดเชยเยียวยาในอัตราเดียวกันไม่ว่าการทรมานนั้นจะ
เกิดขึ้นในพื้นที่ใดของประเทศ หากรัฐจะก าหนดอัตราการให้ความช่วยเหลือ
เยียวยาที่แตกต่างกัน จะต้องมีเหตุผลที่สมควรและอธิบายได้