Page 38 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 38

34




               บทสรุป



               53. แม้ว่าประเทศไทยจะได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ ตั้งแต่ปี


               2550 แต่การทรมานยังคงเป็นปัญหาที่ส าคัญในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่เกิด

               จากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการตรวจค้น ควบคุม จับกุม และคุมขัง


               บุคคลไม่เป็นไปตามที่กฎหมายก าหนดและการขาดความเอาจริงเอาจังในการ

               ด าเนินการกับเจ้าหน้าที่ที่กระท าผิดทั้งในทางอาญาและวินัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


               ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีการประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง


               รัฐบาลจึงควรให้ความส าคัญกับการปรับปรุงมาตรฐานการปฏิบัติหน้าที่ของ

               เจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ส าหรับในพื้นที่จังหวัดชายแดน


               ภาคใต้ที่มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานจ านวนมาก รัฐควรพิจารณา

               ประกาศใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคง ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก


               พ.ศ. 2457 และพระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.


               2548 ตามความจ าเป็นอย่างแท้จริงและในช่วงเวลาที่จ ากัด ในบางพื้นที่ที่

               สถานการณ์ดีขึ้น รัฐควรพิจารณาประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคง


               ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติกระทบสิทธิน้อยกว่า

               กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงสองฉบับที่กล่าวมาแทน นอกจากนี้ รัฐควรก าหนด


               มาตรการเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ถูกจับกุม และป้องกันการทรมาน


               รวมถึงดูแลให้ผู้เสียหายจากการทรมานได้รับการชดเชยเยียวยาที่พอเพียงและ

               เป็นธรรมให้สอดคล้องกับพันธกรณีของไทยในฐานะรัฐภาคีอนุสัญญาต่อต้านการ


               ทรมานฯ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง

               ด้วย





                                               -------------------------------
   33   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43