Page 29 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 29
25
ในธุรกิจบริการทางเพศ มีการสอนอาชีพให้ผู้พักพิงในบ้านเพื่อเตรียมอาชีพและมี
การเยี่ยมบ้านและช่วยเหลือครอบครัว
39. การตรวจเยี่ยมห้องกักของส านักงานตรวจคนเข้าเมืองเป็นการตรวจเยี่ยมที่
เกี่ยวเนื่องกับปัญหาชาวโรฮิงญา ปัญหาความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่างเชื้อ
ชาติในพม่าท าให้มีชาวโรฮิงญาอพยพออกนอกประเทศพม่าจ านวนมากโดยทาง
เรือเพื่อไปยังประเทศที่สาม เช่น มาเลเซียหรืออินโดนีเซีย ในการเดินทางอพยพ
ออกนอกประเทศนั้น มีชาวโรฮิงญาจ านวนหนึ่งถูกจับในขณะเดินทางผ่านน่านน้ า
ของประเทศไทย ซึ่งทางการไทยได้ควบคุมตัวไว้ในฐานะผู้หลบหนีเข้าเมืองเพื่อรอ
การส่งกลับตามกฎหมาย โดยที่ชาวโรฮิงญาที่ถูกจับมีจ านวนค่อนข้างมาก ในขณะ
ที่ห้องกักของส านักงานตรวจคนเข้าเมือง (สตม.) มักมีพื้นที่จ ากัด และการส่งกลับ
ไม่สามารถท าได้ในทันทีเนื่องจากสถานการณ์ในประเทศต้นทางอาจไม่ปลอดภัย
จึงเกิดปัญหาในการดูแลชาวโรฮิงญา ข้อมูลชาวโรฮิงญาที่ถูกจับกุมในประเทศไทย
ณ วันที่ 1 พฤษภาคม 2556 มีจ านวน 2,026 คน มีผู้ที่หลบหนีการควบคุมตัว
และเสียชีวิตรวม 92 คน คงเหลือชาวโรฮิงญาในการควบคุมของทางการไทย
1,934 คน ส่วนใหญ่ถูกควบคุมตัวในห้องกักของ สตม. ในจังหวัดต่างๆ ในภาคใต้
และมีชาวโรฮิงญาที่เป็นหญิงและเด็กที่พ านักอยู่ในบ้านพักเด็กและครอบครัวของ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในจังหวัดต่างๆ 374 คน
40. ในปี 2552 กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีชาวโรฮิงญาในห้องกักของ สตม. ที่
จังหวัดระนองเสียชีวิต 2 ราย ซึ่งคณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิ
ทางการเมืองของ กสม. ได้ตรวจสอบพบว่า สภาพของห้องกักของด่านตรวจคน
เข้าเมือง จ. ระนอง ที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก กอปรกับการขาดการเอาใจ
ใส่ผู้เจ็บป่วยเรื้อรังและรุนแรงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตดังกล่าว และจาก
การได้ตรวจเยี่ยมห้องกักของ สตม. ที่มีการควบคุมตัวชาวโรฮิงญาในหลายจังหวัด