Page 20 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 20
16
ตามพระราชก าหนดฯ มีความมั่นใจที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายอย่าง
เต็มก าลังและมีประสิทธิภาพ และบทบัญญัตินี้ไม่ได้ตัดสิทธิผู้เสียหายที่จะ
เรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของ
เจ้าหน้าที่ แต่บทบัญญัตินี้อาจท าให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความ
มั่นใจมากเกินไปและขาดความระมัดระวังจนอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิทธิและ
เสรีภาพของประชาชนเกินสมควรได้ กสม. เห็นว่าบทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลัก
กฎหมายโดยทั่วไปอยู่แล้ว กล่าวคือ แม้กฎหมายจะไม่ได้มีบทบัญญัติในเรื่องนี้ไว้
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกิน
สมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจ าเป็น บุคคลนั้นก็ไม่จ าต้องรับผิดแต่อย่างใด
ซึ่งในการพิจารณาพิพากษาคดี ศาลก็ได้วางแนวและยึดถือปฏิบัติตามหลัก
กฎหมายดังกล่าวอย่างเคร่งครัดอยู่แล้ว ดังนั้น บทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็น
บทบัญญัติที่เกินความจ าเป็น อีกทั้งยังมีผลอาจท าให้ประชาชนมีทัศนคติด้านลบ
ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชก าหนดดังกล่าวแม้จะเป็น
การปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมและตามความจ าเป็นก็ตาม
24. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรยกเลิกมาตรา 17 ของพระราชก าหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ เนื่องจากแม้จะไม่มีบทบัญญัติดังกล่าวก าหนดไว้
หากพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชก าหนดนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ไปโดยสุจริต ไม่
เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจ าเป็น พนักงาน
เจ้าหน้าที่ผู้นั้นก็ได้รับความคุ้มครองตามหลักกฎหมายทั่วไปอยู่แล้ว การยกเลิก
มาตราดังกล่าวน่าจะช่วยให้การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปด้วย
ความระมัดระวังมากขึ้นและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงค์ของ
พระราชก าหนดฯ และท าให้ประชาชนมีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติหน้าที่ของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชก าหนดฯ มากยิ่งขึ้นด้วย