Page 19 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 19
15
ประชาชนที่ได้รับผลกระทบสามารถร้องเรียนเพื่อขอให้เพิกถอนข้อก าหนด
ประกาศ หรือค าสั่งที่ออกตามพระราชก าหนดฯ เป็นการทั่วไปได้ ในขณะที่การ
ร้องต่อศาลยุติธรรมอาจเป็นการแก้ไขปัญหาการละเมิดสิทธิเฉพาะบุคคลที่ได้รับ
ความเสียหายเป็นกรณีๆ ไปเท่านั้น
22. ข้อเสนอแนะ รัฐควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขมาตรา 1 6 ของพระราช
ก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยให้ข้อพิพาทที่
เกิดจากการใช้อ านาจตามพระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์
ฉุกเฉินฯ อยู่ในอ านาจการพิจารณาของศาลปกครองหากเนื้อหาของคดีเป็นเรื่อง
คดีปกครอง แต่หากเนื้อหาของคดีเป็นเรื่องการกระท าความผิดอาญาก็สมควรให้
อยู่ในอ านาจพิจารณาของศาลยุติธรรม นอกจากนี้ รัฐบาลควรพิจารณาปรับปรุง
กฎหมายฉบับนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับกลไกตรวจสอบและถ่วงดุลการประกาศใช้
กฎหมายดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งด้วย โดยควรมีการแก้ไขมาตรา 5 ของพระราช
ก าหนดฯ เพื่อจ ากัดอ านาจของนายกรัฐมนตรีในการขยายระยะเวลาการประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉิน กล่าวคือ เมื่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของ
นายกรัฐมนตรีครั้งแรกสิ้นสุดลง แต่หากรัฐบาลเห็นว่ายังมีความจ าเป็นต้องขยาย
ระยะเวลา ควรก าหนดให้นายกรัฐมนตรีขอความเห็นชอบจากรัฐสภาเพื่อให้
รัฐสภาซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติสามารถตรวจสอบถึงเหตุผลและความจ าเป็นใน
การขยายเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้
23. กสม. เห็นว่าบทบัญญัติในมาตรา 17 ของพระราชก าหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉินฯ ที่ก าหนดว่า พนักงานเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ในการ
ระงับหรือป้องกันการกระท าผิดกฎหมายตามพระราชก าหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้ง
ทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัยนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการละเมิดสิทธิ
มนุษยชนได้นั้น แม้ว่าบทบัญญัติดังกล่าวจะมีความมุ่งหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่