Page 25 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 25
21
คณะอนุกรรมการฯ ที่แตกต่างไปจากผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงของผู้ตรวจ
ราชการกรมราชทัณฑ์
4
33. ข้อเสนอแนะ กรมราชทัณฑ์ควรให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนแก่เจ้าหน้าที่
และก าชับให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติวินัยข้าราชการกรม
ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2482 และจรรยาบรรณข้าราชการกรมราชทัณฑ์ รวมทั้งก าหนด
มาตรการควบคุมและก ากับดูแลให้มีการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน
กฎระเบียบและจรรยาบรรณของเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์อย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันมิ
ให้เกิดเหตุการณ์เจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ท าร้ายผู้ต้องขังอีก นอกจากนี้ กรมราชทัณฑ์
อาจพิจารณามาตรการอื่นๆ เพื่อป้องกันการท าร้ายผู้ต้องขัง เช่น การติด
กล้องโทรทัศน์วงจรปิดในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการ
ก าหนดระยะห่างระหว่างผู้คุมกับผู้ต้องขังตามมาตรฐานสากล เป็นต้น
การตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังบุคคล
34. นอกจากการรับและตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีการทรมานแล้ว
กสม. ยังมีการตรวจเยี่ยมสถานที่คุมขังบุคคลทั่วประเทศ ทั้งสถานที่ควบคุม
ผู้ต้องหาในสถานีต ารวจ เรือนจ า/ทัณฑสถาน และห้องกักของส านักงานตรวจคน
เข้าเมือง ในปี 2554-2555 คณะอนุกรรมการปฏิบัติการยุทธศาสตร์ด้านสิทธิใน
กระบวนการยุติธรรมของ กสม. ได้ตรวจเยี่ยมสถานีต ารวจ 16 แห่งและเรือนจ า
17 แห่งในภาคต่างๆ เพื่อศึกษาสภาพของสถานที่คุมขังและน ามาใช้เป็นข้อมูลใน
การจัดท าข้อเสนอเชิงนโยบายในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ในส่วนของสถานี
ต ารวจพบว่า สถานีต ารวจส่วนใหญ่มีการแยกห้องควบคุมตัวระหว่างหญิงกับชาย
4 รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ 760/2555 ลงวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เรื่องสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณี
เจ้าหน้าที่เรือนจ าจังหวัดชัยภูมิท าร้ายร่างกายผู้ต้องขัง