Page 18 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 18
14
กฎหมายพิเศษข้างต้นโดยประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ซึ่งก าหนดให้การตรวจค้น การตั้งข้อหา การจับกุม
การควบคุมตัวผู้ต้องหา และการสอบสวนคดีเป็นไป ตามประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญาซึ่งมีบทบัญญัติที่คุ้มครองสิทธิแก่ผู้ถูกกล่าวหาที่เป็นไปตาม
มาตรฐานระหว่างประเทศมากกว่าแทน
21. กสม. เห็นว่าพระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.
2548 ไม่มีกลไกตรวจสอบการด าเนินการของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เหมาะสม
โดยมาตรา 16 ของพระราชก าหนดฯ ยกเว้นว่าข้อก าหนด ประกาศ ค าสั่ง หรือ
การกระท าตามพระราชก าหนดฯ ไม่อยู่ในเขตอ านาจของศาลปกครอง ใน
ประเด็นนี้ แม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะเคยมีค าวินิจฉัยที่ 9/2553 ว่าผู้ได้รับความ
เสียหายจากข้อก าหนด ประกาศ ค าสั่ง หรือการกระท าของเจ้าหน้าที่ของรัฐตาม
พระราชก าหนดนี้จะสามารถน าคดีเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลยุติธรรม
ตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช
2550 ได้ก็ตาม แต่ กสม. เห็นว่า โดยที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้ประเทศไทยใช้
ระบบศาลคู่โดยมีการจัดตั้งศาลปกครองขึ้นมาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง
โดยเฉพาะแยกต่างหากจากศาลยุติธรรม และได้มีการก าหนดให้วิธีพิจารณาคดี
ของศาลปกครองใช้ระบบไต่สวนเพื่อให้คู่ความฝ่ายเอกชนที่อยู่ในฐานะที่
เสียเปรียบคู่ความฝ่ายปกครองทั้งในแง่บุคลากร ผู้เชี่ยวชาญทางด้านกฎหมาย
และความสามารถในการเข้าถึงเอกสารหลักฐานหรือข้อมูลในความครอบครอบ
ของฝ่ายปกครอง ได้รับความเป็นธรรมในการพิจารณาคดี จึงเห็นว่าควรให้ศาล
ปกครองสามารถตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐตามกฎหมายฉบับนี้ด้วยเพื่อให้
สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการใช้ระบบศาลคู่ ทั้งนี้ การให้ศาลปกครองมี
อ านาจตรวจสอบการใช้อ านาจรัฐตามพระราชก าหนดฯ ยังสามารถท าให้