Page 17 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 17
13
19. กสม. พบว่า การที่รัฐบาลได้บังคับใช้กฎหมายพิเศษด้านความมั่นคงในพื้นที่
ได้แก่ พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 และพระราชก าหนดการบริหาร
ราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีกระบวนการตรวจ
ค้น จับกุม และคุมขังบุคคลที่แตกต่างไปจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
อาญา อาจเปิดช่องให้เกิดการใช้อ านาจโดยมิชอบโดยเจ้าหน้าที่รัฐ รวมถึงการ
ซ้อมทรมานได้ เช่น พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พ.ศ. 2457 มาตรา 15 ทวิ ให้
อ านาจเจ้าหน้าที่ความมั่นคงในการกักตัวบุคคลที่มีเหตุควรสงสัยว่าฝ่าฝืน
กฎหมายนี้ไว้เพื่อสอบถามหรือตามความจ าเป็นของทางราชการได้เป็นเวลา 7 วัน
โดยไม่ต้องมีการขอหมายจับต่อศาล ส่วนพระราชก าหนดการบริหารราชการใน
สถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ก าหนดให้เจ้าหน้าที่ต้องขอหมายศาลก่อนจับกุม
บุคคลผู้ต้องสงสัยตามมาตรา 11 และ 12 แต่เจ้าหน้าที่สามารถควบคุมตัวบุคคล
ได้นานถึง 7 วัน ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานกว่าที่ก าหนดในประมวลกฎหมายวิธี
พิจารณาความอาญา และหากมีความจ าเป็น เจ้าหน้าที่อาจขอขยายเวลาการ
ควบคุมตัวต่อศาลได้อีกครั้งละ 7 วัน (โดยระเบียบปฏิบัติก าหนดว่าไม่ต้องน าตัวผู้
ถูกควบคุมตัวไปศาล) แต่รวมระยะเวลาควบคุมตัวทั้งหมดไม่เกิน 30 วันใน
สถานที่ที่มิใช่เป็นที่ควบคุมตัวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยไม่
มีบทบัญญัติที่รับรองสิทธิของผู้ถูกควบคุมตัว เช่น การได้รับการเยี่ยมจากญาติ
หรือปรึกษาทนายความ เช่นในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เป็นต้น
20. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรทบทวนการประกาศใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการ
ศึก พ.ศ. 2457 และ พระราชก าหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. 2548 ในจังหวัดชายแดนภาคใต้เพราะกฎหมายดังกล่าวเป็นกฎหมายที่
จ ากัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน จึงควรบังคับใช้เท่าที่จ าเป็นและในระยะเวลาที่
จ ากัดเท่านั้น ในพื้นที่ใดที่สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลควรลดระดับการบังคับใช้