Page 21 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 21
17
ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานอื่นๆ
25. จากการสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับข้อมูลสถิติเรื่อง
ร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐที่มีการแจ้งความร้องทุกข์ต่อ
เจ้าหน้าที่ต ารวจและที่มีการส่งฟ้องคดีไปยังศาล พบว่าข้อมูลที่หน่วยงานมีอยู่เป็น
คดีการท าร้ายร่างกายโดยรวมโดยไม่ได้มีการเก็บสถิติคดีการทรมานแยกต่างหาก
ท าให้ไม่สามารถประเมินภาพรวมปัญหาการทรมานที่เกิดขึ้นได้
26. ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเก็บข้อมูลเชิงสถิติเกี่ยวกับคดี
การทรมานตามนิยามของอนุสัญญาฯ ตั้งแต่ขั้นตอนของการแจ้งความต่อ
เจ้าหน้าที่ต ารวจ การสั่งฟ้องคดี และผลของการพิจารณาคดี เพื่อให้ทราบถึง
สภาพปัญหาของการทรมานและน าข้อมูลมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหาเพื่อหา
มาตรการป้องกันมิให้เกิดการทรมานตามเจตนารมณ์ของอนุสัญญาฯ
27. ในส่วนของการด าเนินการของ กสม. ที่เกี่ยวกับกรณีการทรมาน ภายใต้การ
ด าเนินงานของ กสม. ชุดแรกตั้งแต่ปี 2542 จนถึงเดือนมิถุนายน 2552 กสม.
ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานบุคคลโดยเจ้าหน้าที่รัฐจ านวน 35 ค าร้อง
ส่วนใหญ่เป็นเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ซึ่ง กสม.
ได้ท าการตรวจสอบแล้วดังมีผลปรากฏในข้อ 12-13 ข้างต้น ส่วนในการ
ด าเนินงานของ กสม. ชุดปัจจุบันที่เข้ารับหน้าที่เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 จนถึงปี
2
2556 กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานจ านวน 69 เรื่อง ในจ านวน
นี้ได้ตรวจสอบเสร็จแล้ว 47 เรื่อง และเป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างด าเนินการ 7 เรื่อง
ส่วนที่เหลือ 15 เรื่องเป็นเรื่องที่ยุติการตรวจสอบ แบ่งเป็นเรื่องที่ยุติเนื่องจากอยู่
ในการพิจารณาของศาลและ กสม. ไม่มีอ านาจตรวจสอบตามมาตรา 22 ของ
พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 จ านวน 10
2 ไม่รวมเรื่องร้องเรียนการทรมานที่เกิดในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามข้อ 12 ของรายงานฉบับนี้