Page 23 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 23
19
ร้ายร่างกายอย่างเหมาะสม ส่วนอีกกรณีหนึ่งมีผลการตรวจร่างกายของแพทย์ แต่
ในช่วงที่เกิดเหตุ ผู้ร้องได้ให้ข้อมูลกับเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ว่าบาดแผลที่เกิดขึ้น
เกิดจากอุบัติเหตุ ต่อมาภายหลังจากเกิดเหตุเป็นเวลา 2 ปี ผู้ร้องจึงมาร้องเรียน
และให้ข้อมูลว่าการบาดเจ็บของตนเกิดจากการถูกท าร้ายจากเจ้าหน้าที่ต ารวจ ซึ่ง
กรณีนี้ ผู้ร้องได้แจ้งความเพื่อด าเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ต ารวจที่ท าร้ายร่างกายผู้ร้อง
3
ด้วยตนเองแล้ว
29. ข้อเสนอแนะ จากการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนข้างต้น กสม. ได้มี
ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายไปยังส านักงานต ารวจแห่งชาติโดยขอให้ส านักงาน
ต ารวจแห่งชาติให้ความส าคัญกับการก าชับและดูแลให้เจ้าหน้าที่ต ารวจที่ปฏิบัติ
หน้าที่ในการจับกุมผู้ต้องหาปฏิบัติตามกระบวนการและขั้นตอนในการจับกุมตาม
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ใช้วิธีการตามกฎหมายในการแสวงหา
พยานหลักฐานอย่างเคร่งครัด และค านึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีตามข้อร้องเรียนขึ้นอีก
หากมีการร้องเรียนในลักษณะดังกล่าว หน่วยงานควรมีกระบวนการตรวจสอบ
ข้อเท็จจริงที่ให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียน และหากพบว่ามีเจ้าหน้าที่ต ารวจ
กระท าผิดจริง ต้องมีการด าเนินการทางอาญาและทางวินัยอย่างจริงจัง โดยที่
ผู้กระท าผิดในคดีการทรมานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐต้องมีมาตรการที่ประกันว่า
การสืบสวนสอบสวนคดีการทรมานจะเป็นไปโดยปราศจากความล าเอียง
30. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการเผยแพร่ความรู้และ
สร้างความเข้าใจทั้งกับเจ้าหน้าที่ต ารวจและเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายใน
หน่วยงานอื่นที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับการตรวจค้น จับกุม และคุมขังบุคคล
3 รายงานผลการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่ 474/2556 ลงวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เรื่องสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย กรณี
กล่าวหาว่าเจ้าหน้าที่ต ารวจสถานีต ารวจภูธรแม่สอด จังหวัดตาก ท าร้ายร่างกายผู้ต้องหาจนได้รับบาดเจ็บสาหัส