Page 16 - รายงานการปฏิบัติตามอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติ หรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี
P. 16
12
ขาดความโปร่งใส ผลการตรวจสอบมักสรุปว่าไม่มีเหตุการณ์ซ้อมทรมานตามข้อ
กล่าวหาซึ่งบางครั้งขัดกับผลการตรวจร่างกายผู้เสียหายของแพทย์และผลการ
ตรวจสอบของคณะอนุกรรมการของ กสม. ท าให้ไม่สามารถน าไปสู่การลงโทษ
เจ้าหน้าที่ที่กระท าความผิดได้ทั้งทางวินัยและทางอาญา
18. ข้อเสนอแนะ รัฐควรเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นต่อการอ านวยความ
ยุติธรรม โดยเมื่อได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทรมานโดยรัฐ รัฐต้องด าเนินการ
สอบสวนข้อร้องเรียนโดยพลัน โดยที่การกระท าความผิดฐานทรมานเป็นการ
กระท าของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงควรมีหลักประกันว่าการสอบสวนข้อร้องเรียนการ
ทรมาน จะมีการด าเนินการอย่างเป็นธรรมโดยไม่ล าเอียง โดยอาจให้หน่วยงานที่มี
ความเป็นกลางท าหน้าที่ดังกล่าวหรือให้พนักงานอัยการด าเนินการสอบสวน
ร่วมกับเจ้าหน้าที่ต ารวจ หากพบว่ามีเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทรมาน จะต้องมี
การลงโทษทั้งทางอาญาและทางวินัยอย่างจริงจัง ในระหว่างนั้น รัฐควรให้การ
คุ้มครองผู้เสียหายและพยานจากการถูกข่มขู่คุกคามโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งนี้
รัฐบาลไทยได้ยอมรับข้อเสนอแนะจากกระบวนการ Universal Periodic
Review (UPR) ที่จะสอบสวนคดีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในจังหวัดชายแดน
ภาคใต้และน าตัวผู้กระท าผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ รัฐบาลยังได้จัดท านโยบายการ
บริหารและการพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พ.ศ. 2555-2557 ที่ให้ความส าคัญ
กับการสร้างความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยยึดหลักนิติรัฐและเคารพ
หลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงการตรวจสอบการใช้อ านาจของเจ้าหน้าที่รัฐให้อยู่ใน
กรอบของกฎหมายอย่างเคร่งครัด และการมีความจริงจังในการสอบสวนและ
ลงโทษผู้กระท าผิดหรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อขจัดวัฒนธรรมการไม่ต้องรับ
ผิด ดังนั้น รัฐบาลจึงควรให้ความส าคัญกับการด าเนินการในเรื่องนี้ตามค ามั่นและ
นโยบายที่ได้ประกาศไว้