Page 86 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 86

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 85











                            ๒๙
                       ต่อรอง    ซึ่งกฎหมายแรงงานของไทย ได้แก่ พระราชบัญญัติแรงงานแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘  และ
                       พระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ ยังมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับอนุสัญญาทั้งสอง
                       ฉบับนี้ เช่น มีบทบัญญัติที่อนุญาตเฉพาะบุคคลที่มีสัญชาติไทยสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงานและเป็น

                       กรรมการสหภาพแรงงานได้ มีบทกำาหนดโทษอาญาสำาหรับการนัดหยุดงาน มีข้อห้ามนายจ้างปิดงานหรือ
                       ลูกจ้างนัดหยุดงาน เป็นต้น


                                      ๒.๑.๒)  แรงงานข้ามชาติกับปัญหาการค้ามนุษย์

                                             (๑)  แรงงานข้ามชาติ
                                                 ข้อมูลจากกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน ได้ระบุถึงจำานวนแรงงาน

                       ที่เป็นคนต่างชาติในประเทศไทย ในปี ๒๕๕๗ ว่ามีจำานวนทั้งสิ้น ๑,๓๓๙,๘๓๔ คน ในจำานวนนี้เป็น
                       แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน (กัมพูชา เมียนมา และลาว) ประมาณ ๑.๑๘ ล้านคน ทั้งนี้ ไม่รวมยอด

                       การจดทะเบียนแรงงานข้ามชาติที่จดทะเบียนในศูนย์บริการจดทะเบียนแรงงานต่างด้าวแบบเบ็ดเสร็จ
                       (One Stop Service) ทั่วประเทศ
                                                 ดังนั้น แรงงานข้ามชาติซึ่งถือเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกละเมิด

                       สิทธิมนุษยชน  ในขณะที่พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑  ตลอดจนพระราชบัญญัติ
                       คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๑ (ฉบับที่ ๓) และฉบับที่ ๔ (พ.ศ. ๒๕๕๓) ยังมิได้ประกันสิทธิแรงงาน
                                                                                      ่
                       ขั้นพื้นฐานให้ครอบคลุมถึงแรงงานข้ามชาติ ทำาให้แรงงานกลุ่มนี้มักได้ค่าจ้างตำากว่ามาตรฐานแรงงาน
                          ่
                       ขั้นตำา ไม่มีวันหยุดประจำาสัปดาห์ ไม่มีวันลา ไม่มีหลักประกันสุขภาพใด ๆ ตลอดจนไม่ได้รับสิทธิประโยชน์
                       จากกองทุนประกันสังคมและกองทุนเงินทดแทน คนกลุ่มนี้จะต้องซื้อสิทธิบัตรประกันสุขภาพของ
                       แรงงานข้ามชาติเองไม่มีสิทธิจัดตั้งสหภาพแรงงานหรือนัดหยุดงาน การยื่นข้อร้องเรียนต่อนายจ้างเสี่ยงต่อ

                       การถูกเลิกจ้างหรือส่งกลับประเทศต้นทาง บางรายถูกนายจ้างให้ออกจากงานเนื่องจากตั้งครรภ์ แรงงาน
                       กลุ่มนี้จะอยู่ในระบบจ้างงานระยะสั้นไม่เกิน ๑ ปี หรือระบบการจ้างแบบเหมาช่วง งานที่รับจ้างส่วนใหญ่
                       อยู่ในภาคการผลิตที่กฎหมายแรงงานยังให้ความคุ้มครองไม่ถึง เช่น งานเกษตรกรรม งานประมงทะเล

                       งานก่อสร้างงานบ้าน เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กลุ่มแรงงานข้ามชาติมักถูกมองว่ามีผลกระทบต่อความ
                       มั่นคงของประเทศ  รัฐบาลจึงมีมาตรการควบคุมแรงงานกลุ่มนี้อย่างเข้มงวด เช่น การเดินทางและ

                       การเปลี่ยนงาน เป็นต้น



                       ๒๙  อนุสัญญาฉบับที่  ๘๗  ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว  มีสาระสำาคัญคือ  คนทำางานและนายจ้าง
                         มีสิทธิในการรวมตัวจัดตั้งองค์กรของตนโดยไม่ต้องขออนุญาตล่วงหน้า  มีสิทธิที่จะกำาหนดแนวทางในการบริหารองค์กรในการ
                         ที่จะปราศจากการแทรกแซงของรัฐ  รัฐไม่สามารถยกเลิกองค์กรของลูกจ้างได้  ยกเว้นกรณีมีคำาสั่งศาล  องค์กรมีสิทธิที่จะเข้าร่วม
                         เป็นสหพันธ์และสมาพันธ์ เข้าเป็นภาคีกับองค์การนายจ้างและลูกจ้างระหว่างประเทศได้ ในกรณีที่มีการนัดหยุดงานที่เป็นการให้
                         บริการสาธารณะที่จำาเป็นยิ่ง (Essential Services) เช่น ไฟฟ้า ประปา หน่วยดับเพลิง ที่กระทบต่อชีวิต ความปลอดภัย
                         สาธารณสุขของประชาชน จะหยุดงานไม่ได้ และอนุสัญญาฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง มีสาระ
                         สำาคัญปกป้องไม่ให้มีการกดดันหรือปลดลูกจ้างที่เข้าร่วมกิจการของสหภาพ ไม่ให้องค์กรของนายจ้าง ลูกจ้างแทรกแซงซึ่งกัน
                         และกัน นายจ้างและลูกจ้างมีเสรีภาพในการเจรจา โดยรัฐต้องแทรกแซงน้อยที่สุด การบังคับใช้อนุสัญญานี้กับตำารวจและทหาร
                         ต้องกำาหนดเป็นกฎหมาย และไม่ใช้กับข้าราชการที่ใช้อำานาจในนามของรัฐ เช่น ข้าราชการระดับสูงในระดับอธิบดี ปลัดกระทรวง
                         เป็นต้น
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91