Page 84 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 84
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 83
๙๐) ดำาเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ รวมทั้ง
ฟื้นฟูเยียวยาเหยื่อการค้ามนุษย์
๙๑) ดำาเนินการเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ รวมถึงการเพิ่มงบประมาณและจัดการฝึกอบรมบุคลากร
ที่เหมาะสม
๙๒) บังคับใช้กฎหมายด้านการค้ามนุษย์ให้เข้มแข็งขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่มี
การแสวงหาประโยชน์ทางเพศและแรงงาน ซึ่งเป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อนในประเทศไทย
๙๓) เพิ่มความพยายามในการป้องกันการค้ามนุษย์ เพื่อแสวงหาประโยชน์
ทางเพศและใช้แรงงานบังคับรวมถึงการค้าประเวณีเด็ก
๙๔) ใช้มาตรการที่จำาเป็นเพื่อแก้ไขรากเหง้าของปัญหาการค้าประเวณีเด็ก
การท่องเที่ยวเพื่อบริการทางเพศ สื่อลามกเด็ก และการค้าสตรี รวมทั้งเพิ่มความ
พยายามในการปรับปรุงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ
๙๕) แก้ไขปัญหาสื่อลามกเด็กและการค้ามนุษย์ทั้งเด็กหญิงและชายเพื่อ
วัตถุประสงค์ทางเพศอย่างจริงจัง รวมทั้งการสนับสนุนให้ตำารวจและเจ้าหน้าที่ตาม
แนวชายแดนเพิ่มความพยายามเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ตลอดจนหาความรับผิดชอบ
ในกรณีที่รัฐขาดความพยายามในการดำาเนินคดี ซึ่งเท่ากับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
๒) สถานการณ์
๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป
สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมโดยทั่วไป มีลักษณะเป็นสิทธิเชิงบวก หรือ
สิทธิที่รัฐจะต้องดำาเนินการให้เกิดความก้าวหน้า (Positive Rights/ Progressive Realization of Rights)
เป็นลำาดับและใช้เวลาในการที่จะทำาให้สิทธิดังกล่าวเกิดขึ้นจริง โดยรัฐมีพันธกรณีที่จะต้องจัดสรรทรัพยากร
ที่มีเพื่อให้สิทธิได้เกิดความก้าวหน้าเป็นลำาดับ เช่น สิทธิในที่อยู่อาศัย สิทธิในการได้รับสวัสดิการสังคม
สิทธิในการมีมาตรฐานการครองชีพที่เพียงพอสำาหรับตนเองและครอบครัว สิทธิในการประกอบอาชีพ
แต่เป็นเรื่องที่ประชาชนจึงมักจะเข้าใจว่าเป็นความเอื้ออาทรจากรัฐที่จะมีนโยบาย มาตรการที่รัฐจะ
ช่วยเหลือสนับสนุน มากกว่าที่จะเรียกร้องว่ารัฐมีพันธะหน้าที่ที่จะต้องดำาเนินการ และมีความยากลำาบาก
ที่ประชาชนจะนำาเรื่องเข้าสู่การเรียกร้องในกระบวนการยุติธรรมเมื่อเกิดความเสียหายหรือไม่ได้รับความ
เป็นธรรม เช่น การไม่ได้รับการช่วยเหลือ หรือการได้รับบริการที่มีคุณภาพเพียงพอ และที่ผ่านมา
รัฐธรรมนูญยังมิได้ระบุการประกันสิทธิในกลุ่มดังกล่าวให้ชัดเจนเพียงพอ จึงทำาให้ไม่เกิดการประกันสิทธิ
และเรียกร้องให้รัฐทำาหน้าที่อย่างมีประสิทธิผล