Page 91 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 91

90 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗


















                    และพบว่าเกิดจากปัญหาตัวเลขคลาดเคลื่อน  และได้สรุปว่ามีเกษตรกรที่ต้องได้รับการเยียวยา จำานวน

                    ๒๒๙ ราย ปริมาณข้าวเปลือก ๔,๔๗๐.๗๘๔ ตัน จำานวนเงิน ๕๒,๘๓๕,๕๓๑.๗๐ บาท พร้อมทั้งได้เสนอ
                    มาตรการการแก้ไขปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี โดยให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) กระทรวง

                    พาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบออกใบประทวนสินค้าให้แก่ผู้ร้อง และมีข้อเสนอแนะนโยบาย
                    ว่า คณะรัฐมนตรีมีความรับผิดชอบร่วมกันตามหลักระบบรัฐสภาในผลแห่งการกระทำาของตัวแทนใน

                    ทุกกรณี อันสืบเนื่องมาจากการดำาเนินนโยบายรับจำานำาข้าวของรัฐบาลที่ได้ประกาศต่อสาธารณะและ
                    รัฐสภา โดยให้กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ สำานักงบประมาณ และคณะกรรมการนโยบายและ

                    บริหารจัดการข้าว (นบข.) ตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติม ในกรณีที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำาเนินการ
                    ตามอำานาจหน้าที่แล้วพบว่ามีการกระทำาผิด ควรต้องนำาผู้กระทำาความผิดมาลงโทษ และในกรณีที่

                    พบว่าอาจมีการกระทำาการทุจริต ควรแจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
                    เพื่อดำาเนินการ  ซึ่งต่อมาที่ประชุม ป.ป.ช. เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๗ มีมติเป็นเอกฉันท์ชี้มูล

                    ความผิดนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลกฎหมาย
                    อาญา มาตรา ๑๕๗ และความผิดตาม พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ

                    ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๑๒๓/๑ เนื่องจากไม่ระงับ ยับยั้ง ปล่อยให้
                    เกิดการทุจริตโครงการรับจำานำาข้าวทุกขั้นตอน จนทำาให้ประเทศได้รับความเสียหาย โดยได้ให้เจ้าหน้าที่

                    สรุปสำานวนคดีส่งอัยการสูงสุดดำาเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำารงตำาแหน่งทางการเมือง
                    ต่อไป  ๓๗



                         ๓)  การประเมินสถานการณ์

                              ในด้านสิทธิแรงงานด้านการสมาคม การรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง  กสม. เห็นว่า

                    รัฐบาลควรพิจารณาเร่งให้สัตยาบันอนุสัญญาหลักขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ๒ ฉบับ
                    ได้แก่ อนุสัญญาองค์การแรงงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการสมาคมและคุ้มครอง
                    สิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจาต่อรอง

                              รัฐได้พยายามแก้ปัญหาแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้อยู่ในระบบ โดยมีประกาศ คสช. ฉบับที่

                    ๖๗/๒๕๕๗ เรื่อง มาตรการชั่วคราวในการดำาเนินการต่อแรงงานต่างด้าว  ประกาศ คสช. ฉบับที่ ๖๘/๒๕๕๗





                    ๓๗  ดูรายละเอียดเพิ่มเติม <http://thaipublica.org/2014/07/nacc-sued-yingluck-1/> เข้าดูเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๘
   86   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96