Page 85 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 85
84 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ในปี ๒๕๕๗ เห็นว่ามีสถานการณ์สำาคัญที่ควรกล่าวถึงเป็นการเฉพาะ ดังนี้
๒.๑.๑) สิทธิแรงงานด้านการสมาคม การรวมตัว และการร่วมเจรจาต่อรอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๔ ได้ประกัน
เสรีภาพของบุคคลในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร องค์การเอกชน
องค์การพัฒนาเอกชน หรือหมู่คณะอื่น รวมถึงข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีเสรีภาพในการรวมกลุ่ม
เช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป แต่ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความ
ต่อเนื่องในการจัดทำาบริการสาธารณะ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ในขณะที่พระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ เป็นกฎหมายที่กำาหนดแนวทางปฏิบัติต่อกันระหว่างฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง
ในเรื่องสิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ในการทำางานร่วมกัน ตลอดจนวิธีการระงับข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท
แรงงาน รวมถึงการกำาหนดเรื่องการรวมกลุ่มเป็นสหภาพ สหพันธ์ แต่กฎหมายฉบับดังกล่าวยังไม่ครอบคลุม
ถึงคนทำางานที่เป็นแรงงานต่างด้าวในการรวมกลุ่ม แรงงานนอกระบบ (เช่น ผู้รับงานไปทำาที่บ้าน แรงงาน
ในภาคเกษตรกรรม แม่บ้าน) และให้อำานาจรัฐในการแทรกแซงการดำาเนินการขององค์กรลูกจ้างและองค์กร
นายจ้าง เช่น การจัดตั้งต้องมีการจดทะเบียน กรณีที่มีการนัดหยุดงานที่อาจทำาให้เกิดความเสียหายต่อ
เศรษฐกิจ รัฐมนตรีมีอำานาจสั่งให้ลูกจ้างต้องกลับเข้าทำางานตามปกติได้ เป็นต้น ในขณะที่พระราชบัญญัติ
แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นกฎหมายที่กำาหนดแนวทางปฏิบัติระหว่างฝ่ายนายจ้าง (รัฐวิสาหกิจ)
และฝ่ายลูกจ้าง ในทำานองเดียวกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ และไม่ครอบคลุมถึง
คนทำางานที่เป็นแรงงานต่างด้าวเช่นกัน นอกจากนี้ พระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวยังมีข้อจำากัดในการ
กำาหนดให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง มีสหภาพแรงงานได้เพียงสหภาพเดียว ห้ามนายจ้างปิดงานและลูกจ้าง
นัดหยุดงานโดยเด็ดขาด และการจัดตั้งสหภาพแรงงานต้องมีการจดทะเบียน เป็นต้น ทั้งนี้ กฎหมาย
แรงงานทั้งสองฉบับยังไม่ครอบคลุมถึงสิทธิของข้าราชการที่จะมีสิทธิในการสมาคม การรวมตัว และการ
ร่วมเจรจาต่อรอง และยังคงไม่มีการออกกฎหมายรับรองสิทธิดังกล่าวของข้าราชการ ตามที่รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๖๔ ได้รับรองไว้
ในขณะที่ประเทศไทยเป็นสมาชิกร่วมก่อตั้งองค์การแรงงานระหว่างประเทศ
(International Labour Organization : ILO) ซึ่งเป็นองค์กรที่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของแรงงาน
มีสถานะเป็นทบวงชำานัญพิเศษของสหประชาชาติ ปัจจุบันมีอนุสัญญาทั้งหมด ๑๘๙ ฉบับ ซึ่งประเทศไทย
เป็นภาคีอนุสัญญา ๑๕ ฉบับ โดยยังไม่ได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญา ฉบับที่ ๘๗ ว่าด้วยเสรีภาพในการ
สมาคมและการคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ ๙๘ ว่าด้วยสิทธิในการรวมตัวและการร่วมเจรจา