Page 83 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 83
82 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๔๔) ดำาเนินความพยายามที่ดีอย่างต่อเนื่องเพื่อคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิ
ทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และการให้ความสำาคัญเป็นพิเศษกับสุขภาพและ
การศึกษา
๔๕) ประกันการเข้าถึงการศึกษา ความมั่นคงทางสังคม การดูแลสุขภาพ และ
โอกาสทางเศรษฐกิจสำาหรับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งรวมถึงสตรีมุสลิมและสตรีที่สมรส
ก่อนวัยอันควร
๔๖) ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
และความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของความยากจนและ
คนชายขอบ
๔๗) ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อปรับปรุงระบบประกันสุขภาพ เพื่อลดความ
้
เหลื่อมลำาและให้มีการเข้าถึงระบบประกันสุขภาพอย่างเสมอภาค
๔๘) ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาระบบสุขภาพ เพื่อส่งเสริมให้ทุก
ภาคส่วนของสังคมสามารถเข้าถึงสิทธิด้านสุขภาพ
๔๙) แก้ไขปัญหาการเสียชีวิตของมารดาและทุพโภชนาการในเด็กที่อยู่ในพื้นที่
ห่างไกลของประเทศ
๕๐) ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมคุณภาพในการเข้าถึงการศึกษา
รวมถึงการเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันสำาหรับเด็กทุกคน
๕๑) ดำาเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมสิทธิทางการศึกษาสำาหรับ
ทุกคน โดยเน้นประชาชนที่ยากจนในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ห่างไกล
๑.๓.๒ ปัญหาการค้ามนุษย์
๘๖) ดำาเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ไขสถานการณ์การค้ามนุษย์
ซึ่งมีนัยเกินกว่าขอบเขตพรมแดนของไทย
๘๗) ร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่องเพื่อขจัดและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์โดยเฉพาะผู้หญิงและเด็ก และเพื่อแก้ไขสถานการณ์ของ
แรงงานโยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ ผู้ลี้ภัยและผู้แสวงหาที่พักพิง
๘๘) เร่งแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ซึ่งมีประชากรต่างชาติบางกลุ่มตกเป็นเหยื่อ
และประกันว่าจะไม่มีการใช้มาตรการใด ๆ ที่ขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชนกับกลุ่มคนเหล่านี้
๘๙) เพิ่มความพยายามอย่างต่อเนื่อง เพื่อขจัดปัญหาการค้ามนุษย์และการ
ละเมิดสิทธิแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อผู้โยกย้ายถิ่นฐานซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบาง