Page 89 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 89

88 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                    ๒.๑.๓)  ความเหลื่อมล้ำาและการจัดสรรทรัพยากร และปัญหาการทุจริตที่มีผล

                                          กระทบต่อสิทธิมนุษยชน
                                                                                              ้
                                          จากปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย ก่อให้เกิดความเหลื่อมลำาในการที่
                    ประชาชนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรด้านต่าง ๆ ในขณะเดียวกัน ก็เกิดความไม่เป็นธรรม
                                                                                     ้
                    ในการจัดสรรทรัพยากรของรัฐ  รัฐบาลได้กำาหนดให้การขจัดปัญหาความเหลื่อมลำาเป็นหนึ่งในนโยบาย
                    บริหารราชการแผ่นดินที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๗ และรัฐธรรมนูญ

                    แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ ได้บัญญัติให้สภาปฏิรูปแห่งชาติศึกษาและ
                    เสนอแนะเพื่อให้เกิดการปฏิรูปอย่างน้อย ๑๑ ด้าน ได้แก่ การเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย

                    และกระบวนการยุติธรรม การปกครองท้องถิ่น การศึกษา เศรษฐกิจ พลังงาน สาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
                    สื่อสารมวลชน สังคม และอื่น ๆ

                                          ที่ผ่านมา พรรคการเมืองและรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งมักนำาเสนอนโยบาย

                    หาเสียงเพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย เช่น แรงงาน เกษตรกร แต่ก็เป็น
                                                                           ๓๑
                    ช่องทางที่ก่อให้เกิดปัญหาการทุจริตทั้งด้านงบประมาณและเชิงนโยบาย   ที่มีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน
                    ทั้งทางตรงและทางอ้อม ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ พรรคเพื่อไทย
                    ได้นำาเสนอนโยบายในการหาเสียงเลือกตั้งประการหนึ่ง คือ การรับจำานำาข้าวเปลือกทุกเมล็ด เพื่อให้

                    เม็ดเงินตกถึงมือเกษตรกรโดยตรง และเมื่อพรรคเพื่อไทยได้เป็นผู้นำาจัดตั้งรัฐบาลและแถลงนโยบายต่อ
                    รัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๔ ได้นำานโยบายการรับจำานำาข้าวเปลือกตามที่ได้รณรงค์หาเสียงไว้
                                                                                 ๓๒
                    บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่จะเริ่มดำาเนินการในปีแรก    ซึ่งต่อมา ได้เกิดปัญหา
                    ในการดำาเนินนโยบายดังกล่าวและมีผลกระทบต่อความเสียหายด้านงบประมาณ และเกษตรกรที่เข้าร่วม

                    โครงการ กล่าวคือ มียอดขาดทุนสุทธิจากการดำาเนินโครงการ ๗ แสนล้านบาท แบ่งเป็นขาดทุนในโครงการ
                    จำานำาข้าวสมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ๕.๓๖ แสนล้านบาท และยอดขาดทุนสะสมจากโครงการ







                    ๓๑  การทุจริตเชิงนโยบายเป็นรูปแบบของการทุจริตที่มีความซับซ้อนมากขึ้นต่างจากการทุจริตโดยทั่วไป โดยมีการใช้อำานาจหน้าที่ของ

                       เจ้าหน้าที่รัฐโดยมิชอบ  (Abuse  of  Power)  มักจะเป็นการทุจริตขนาดใหญ่ที่สร้างผลกระทบหรือความเสียหายอย่างมากให้กับ
                       ประเทศ  โดยมีกระบวนการในการใช้ช่องว่างของกฎหมายและวิชาการสร้างความชอบธรรมให้กับนโยบายหรือโครงการ  (Making
                       of Power) มีการใช้อำานาจในการบริหารในทางการเมืองอย่างไม่โปร่งใส มีการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งภายใน
                       ประเทศและระหว่างประเทศ
                    ๓๒  “ข้อ ๑.๑๑ ยกระดับราคาสินค้าเกษตรและให้เกษตรกรเข้าถึงแหล่งเงินทุน  โดยดูแลราคาสินค้าเกษตรให้มีเสถียรภาพที่เหมาะสม

                       คำานึงถึงกลไกราคาตลาดโลก โดยใช้วิธีบริหารจัดการทางการตลาดและกลไกตลาดซื้อขายล่วงหน้า รวมทั้งผลักดันให้เกษตรกร
                       สามารถขายสินค้าเกษตรได้ในราคาสูงเพียงพอเมื่อเทียบกับต้นทุน และนำาระบบรับจำานำาสินค้าเกษตรมาใช้ในการสร้างความมั่นคง
                       ด้านรายได้ให้แก่เกษตรกร เริ่มต้นจากการรับจำานำาข้าวเปลือกเจ้าและข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้นไม่เกินร้อยละ ๑๕ ที่ราคา
                       เกวียนละ ๑๕,๐๐๐ บาท และ ๒๐,๐๐๐ บาทตามลำาดับ พร้อมทั้งจัดให้มีการเยียวยาความเสียหายของพืชผลจากภัยธรรมชาติ
                       ให้แก่เกษตรกร การจัดทำาระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรให้สมบูรณ์ และการออกบัตรเครดิตสำาหรับเกษตรกร... ”
   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93   94