Page 82 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 82
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 81
ความสำาคัญเป็นพิเศษกับสตรีและเด็ก โดยได้กำาหนดให้การค้ามนุษย์เป็นความผิด
ทางอาญา และกำาหนดมาตรการเพื่อคุ้มครองและช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์
เช่น การให้พิจารณาคดีโดยลับ การจัดให้มีการฟื้นฟูทางกายภาพ ทางจิตใจ และ
ทางสังคม และการกำาหนดแนวทางในการส่งกลับเหยื่อจากการค้ามนุษย์ไปยัง
ประเทศต้นทาง
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วม
ในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๔๖ และพระราชบัญญัติป้องกันและ
ปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นกฎหมายอนุวัติการสำาหรับอนุสัญญาและ
พิธีสารดังกล่าวแล้ว
๑.๓ ข้อเสนอแนะจากกระบวนการ UPR ที่ประเทศไทยรับมาปฏิบัติ
๑.๓.๑ การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
้
๓๘) แก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและความเหลื่อมลำาในสังคม
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุของความขัดแย้งทางสังคมและความไม่สงบทางการเมือง
ในช่วง ๒ - ๓ ปี ที่ผ่านมา รวมทั้งในภาคใต้ของประเทศไทย
๓๙) แก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของความไม่เท่าเทียมกันในสังคม
และความไม่เท่าเทียมกันในการเข้าถึงโอกาสและบริการต่าง ๆ ของคนยากจนและ
คนชายขอบ เพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถใช้สิทธิของตนเองได้ตามที่ระบุไว้ในแผน
และนโยบายการปฏิรูปประเทศ
๔๐) ดำาเนินการอย่างต่อเนื่องในการปรับใช้ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อลดความยากจน
๔๑) ดำาเนินการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อมุ่งช่วยเหลือ
คนยากจนและผู้ด้อยโอกาส เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีมาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอ
๔๒) ดำาเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มและสร้างความเข้มแข็งให้กับแผนงาน
ด้านสังคมที่ประสบผลสำาเร็จนับจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีความจำาเป็นในการต่อสู้กับความ
ยากจนและการกีดกันทางสังคมบนพื้นฐานของการกระจายความมั่นคงอย่างเป็นธรรม
อันจะนำาไปสู่การบรรลุสวัสดิการที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปสำาหรับประชาชน
๔๓) ดำาเนินความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้าน
การทำางาน สิทธิด้านสุขภาพและสิทธิด้านการศึกษาของประชาชน เพื่อให้ดำารงไว้
ซึ่งมาตรฐานการดำารงชีวิตที่เพียงพอของทุกคน