Page 80 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 80

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 79












                                 วัฒนธรรม นันทนาการ การคุ้มครองจากการถูกแสวงประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ยาเสพติด
                                 การกระทำาทางเพศ การลักพา ขาย ค้าเด็ก การคุ้มครองจากการแสวงประโยชน์

                                 ทุกรูปแบบ การถูกทรมานหรือลงโทษที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม การพิพาทด้วยอาวุธ

                                 การฟื้นฟูจิตใจและการกลับคืนสู่สังคม การคุ้มครองเด็กที่ต้องประสบปัญหาด้าน
                                 กฎหมาย และต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรม  และผลกระทบของอนุสัญญานี้ต่อ
                                 กฎหมายเดิมที่มีอยู่ ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๔๒ - ๔๕) ว่าด้วยการเผยแพร่อนุสัญญา

                                 คณะกรรมการว่าด้วยสิทธิเด็ก การเสนอรายงาน การส่งเสริม การปฏิบัติตามอนุสัญญา

                                 อย่างมีประสิทธิภาพด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศส่วนที่ ๓ (ข้อ ๔๖ - ๕๔) ว่าด้วย
                                 การลงนามเข้าเป็นภาคี การมีผลบังคับใช้ การแก้ไขการตั้งและการถอนข้อสงวน
                                      นอกจากนี้ ไทยได้เข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาสิทธิเด็ก จำานวน

                                 ๓ ฉบับ ได้แก่  (๑) เรื่องความเกี่ยวพันของเด็กในความขัดแย้งกันทางกำาลังอาวุธ

                                 (Optional Protocol to the Convention on the Rights of the Child on the
                                 involvement of children in armed conflict)  (๒) เรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณี
                                 เด็กและสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก (Optional  Protocol  to  the  Convention  on  the

                                 Rights of the Child on the sale of children, child prostitution and child

                                 pornography)  และ  (๓)  เรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน  (Optional  Protocol  to
                                 the Convention on the Rights of the Child on a communications procedure)


                                      ๑.๒.๕  อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติในทุกรูปแบบ


                                      ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๒๗

                                 กุมภาพันธ์ ๒๕๔๖ โดยทำาคำาแถลงตีความ ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายใน
                                 ประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญา

                                 สิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี  และได้ทำาข้อสงวนไว้ ๒ ข้อ ได้แก่
                                 ข้อ ๔ ในเรื่องการดำาเนินมาตรการขจัดการเลือกปฏิบัติเท่าที่จำาเป็น และ ข้อ ๒๒ ในเรื่อง

                                 การระงับข้อพิพาทโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
                                      เนื้อหาของอนุสัญญามี ๓ ส่วน ๒๕ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑ - ๗) เป็นสาระบัญญัติ

                                 ว่าด้วยสิทธิต่างๆ  โดยกำาหนดความหมายของ “การเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติ”
                                 การตีความและมาตรการพิเศษที่จัดขึ้นตามความจำาเป็นด้วยเจตนา เพื่อประกัน

                                 ความก้าวหน้าของหมู่ชนบางกลุ่มที่ต้องการความคุ้มครองและสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
                                 การประณามการเลือกปฏิบัติทางเชื้อชาติและการประกันการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล

                                 กลุ่มหรือสถาบัน หรือสนับสนุนการเลือกปฏิบัติเหล่านี้ การดำาเนินมาตรการที่จะแก้ไข
   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85