Page 79 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 79

78 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗









                              มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๔๓ พิธีสารเลือกรับฯ เป็นกระบวนการช่วย
                              ในการคุ้มครองสิทธิสตรี โดยเปิดโอกาสให้บุคคลหรือกลุ่มบุคคลในประเทศที่เป็นภาคี

                              พิธีสารฯ เสนอข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิสตรีต่อคณะกรรมการว่าด้วยการขจัด

                              การเลือกปฏิบัติต่อสตรี และเปิดโอกาสให้คณะกรรมการเข้ามาไต่สวนได้ โดยมีเงื่อนไข
                              ว่าเรื่องดังกล่าวได้ดำาเนินการโดยกระบวนการแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ
                              จนหมดสิ้นแล้ว หรือมีเหตุผลว่ากลไกในประเทศดำาเนินการล่าช้ากว่าปกติ  นอกจากนั้น

                              ยังต้องได้รับความยินยอมจากรัฐบาลของประเทศนั้นก่อนด้วย  อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน

                              ยังไม่มีกรณีร้องเรียนของประเทศไทยไปยังคณะกรรมการว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติ
                              ต่อสตรีแต่อย่างใด


                                    ๑.๒.๔) อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก  และพิธีสารเลือกรับทั้ง ๓ ฉบับ ได้แก่ พิธีสาร

                    เลือกรับเรื่องการขายเด็ก การค้าประเวณี และสื่อลามกที่เกี่ยวกับเด็ก พิธีสารเลือกรับเรื่องความเกี่ยวพัน
                    ของเด็กในความขัดแย้งกันด้วยอาวุธ และพิธีสารเลือกรับเรื่องกระบวนการติดต่อร้องเรียน


                                    ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๖

                              เมษายน ๒๕๓๕ โดยปัจจุบันคงเหลือข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๒ การดูแลกลุ่มเด็กซึ่งเป็น
                              ผู้หนีภัยฯ ให้เป็นไปอย่างสอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติในประเทศ

                                    เนื้อหาของอนุสัญญาฉบับนี้มี ๓ ส่วน  ๕๔ ข้อ  ส่วนแรก (ข้อ ๑ - ๔๑) เป็น
                              สาระบัญญัติว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของเด็ก ประกอบด้วยความหมายของ “เด็ก” การประกัน

                              สิทธิพื้นฐานของรัฐภาคีต่อเด็กในเขต อำานาจของตนบนสิทธิพื้นฐาน ๔ ประการ คือ สิทธิ
                              ที่จะมีชีวิต สิทธิที่จะได้รับการปกป้อง สิทธิที่จะได้รับการพัฒนาและสิทธิที่จะมีส่วนร่วม

                              การไม่เลือกปฏิบัติ การคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็ก การเคารพต่อความรับผิดชอบ
                              และสิทธิหน้าที่ของบิดามารดา ครอบครัว และสภาพสังคมของเด็ก การประกันสิทธิที่จะ

                              มีชีวิต การมีชื่อ มีสัญชาติ เอกลักษณ์ การอยู่ร่วมกันระหว่างเด็กกับบิดามารดาและ
                              ครอบครัว และการรักษาความสัมพันธ์ระหว่างกัน สิทธิเสรีภาพของเด็กในการแสดง

                              ความคิดเห็น การแสดงออก การแสวงหา/ได้รับข้อมูลข่าวสาร ความคิด มโนธรรม
                              ศาสนา การสมาคม ความเป็นส่วนตัว การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารจากสื่อ และการคุ้มครอง

                              จากข้อมูลข่าวสารที่เป็นอันตราย การช่วยเหลือบิดามารดาผู้ปกครองให้สามารถเลี้ยงดู
                              เด็กได้ การคุ้มครองจากความรุนแรงทั้งปวง การดูแลทางเลือกสำาหรับเด็ก การรับเด็ก

                              เป็นบุตรบุญธรรม การร้องขอสถานะผู้ลี้ภัย การดูแลเด็กพิการ การดูแลสุขภาพและ
                              การสาธารณสุขสำาหรับเด็กและมารดา การประกันสังคม การได้รับมาตรฐานการดำารง

                              ชีวิตที่เพียงพอ การศึกษา การพัฒนาบุคลิกภาพ การยอมรับความหลากหลายทาง
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84