Page 78 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 78
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 77
ศึกษาภาคบังคับที่ให้เปล่าแก่ทุกคน และการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษา
ที่เหมาะสมเท่าเทียมกัน รวมถึงการศึกษาขั้นพื้นฐานที่จะต้องส่งเสริมให้มากที่สุด สิทธิ
ที่จะมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านวัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และการดูแลจากภาครัฐ
ที่จะคุ้มครองอนุรักษ์และการพัฒนา รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และ
ทางวัฒนธรรม
๑.๒.๓) อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ
ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติ และมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ ๘
กันยายน ๒๕๒๘ โดยทำาคำาแถลงตีความ ๑ ข้อ เกี่ยวกับเรื่องการบังคับใช้ภายใน
ประเทศต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และปัจจุบันคงเหลือ
ข้อสงวน ๑ ข้อ คือ ข้อ ๒๙ การให้อำานาจศาลโลกในการตัดสินกรณีพิพาท
เนื้อหาของอนุสัญญานี้มี ๒ ส่วน ๓๐ ข้อ ส่วนแรก (ข้อ ๑ - ๑๖) เป็นสาระบัญญัติ
ว่าด้วยสิทธิต่าง ๆ ของสตรี การขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรี รวมทั้งการประกันว่าสตรี
และบุรุษมีสิทธิที่จะได้รับการปฏิบัติและดูแลจากรัฐอย่างเสมอภาคกัน โดยรัฐภาคี
มีพันธกรณีสำาคัญที่จะต้องกำาหนดมาตรการเพื่อสร้างความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษ
และสตรี ปรับรูปแบบทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เอื้อต่อการขจัดการเลือกปฏิบัติ
ต่อสตรี ปราบปรามการลักลอบค้าและแสวงหาประโยชน์ทางเพศจากสตรี ประกัน
ความเท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการดำารงชีวิต
ทั้งในระดับประเทศและระหว่างประเทศ เช่น สิทธิในการเลือกตั้ง การสนับสนุนให้
ดำารงตำาแหน่งที่สำาคัญ ความเท่าเทียมกันในกฎหมายว่าด้วยสัญชาติ และการศึกษา
การได้รับโอกาสในการจ้างงานที่เท่าเทียมกัน การป้องกันความรุนแรงต่อสตรีใน
สถานที่ทำางาน ความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพ การประกันความ
เป็นอิสระด้านการเงินและความมั่นคง ด้านสังคม และการให้ความสำาคัญแก่สตรีในชนบท
ความเท่าเทียมกันทางกฎหมาย โดยเฉพาะในด้านกฎหมายแพ่ง และกฎหมายครอบครัว
ซึ่งเป็นการประกันความเท่าเทียมกันในชีวิตส่วนบุคคล ส่วนที่ ๒ (ข้อ ๑๗ - ๓๐) เป็น
เรื่องเกี่ยวกับการจัดตั้งและการดำาเนินงานของคณะกรรมการ การเสนอรายงาน
ผลกระทบของอนุสัญญา และการกำาหนดมาตรการที่จำาเป็น การลงนามเข้าเป็นภาคี
การมีผลบังคับใช้ การแก้ไข การตั้งข้อสงวน และ การระงับข้อพิพาท
อนุสัญญาฯ มีพิธีสารเลือกรับ ๑ ฉบับ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการรับเรื่องร้องเรียน
ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชีย และประเทศที่ ๕ ในโลกที่ให้สัตยาบันต่อ
พิธีสารเลือกรับของอนุสัญญาฯ นับเป็น ๑ ใน ๑๐ ประเทศแรกที่ทำาให้พิธีสารเลือกรับฯ