Page 52 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 52
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 51
F ในการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ รัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ
ตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายหรือระเบียบที่กำาหนด อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม และมีมาตรฐาน
เดียวกัน โดยครอบคลุมทั้งการดูแล ช่วยเหลือในส่วนของผลกระทบที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน
และการฟื้นฟู เยียวยาทางด้านจิตใจ การประกอบอาชีพ และการพัฒนาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสนับสนุนการศึกษาสำาหรับบุตรหลานของผู้ที่ได้รับผลกระทบ เพื่อให้สามารถดำารงชีวิต
ได้อย่างเป็นปกติให้มากที่สุด
นอกเหนือจากความรับผิดชอบของรัฐแล้ว กสม. เห็นว่า ผู้จัดการชุมนุมและผู้ชุมนุมย่อม
ต้องมีหน้าที่ ดังนี้
F การใช้เสรีภาพในการชุมนุมต้องเป็นไปโดยสงบ และปราศจากอาวุธ หลีกเลี่ยงการ
กระทำาซึ่งจะกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น เช่น การปิดเส้นทางสัญจร
การยึดหรือปิดล้อมหน่วยราชการและเอกชน การขัดขวางการใช้สิทธิเลือกตั้ง การ
แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในการยั่วยุ การใช้ถ้อยคำาเพื่อสร้างความเกลียดชัง การไม่
กระทำาการอันเป็นการข่มขู่คุกคามการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน
F การหลีกเลี่ยงไม่ให้จัดการชุมนุมในลักษณะที่เป็นการยั่วยุหรือนำาไปสู่การเผชิญหน้ากับ
ฝ่ายต่าง ๆ สุ่มเสี่ยงจะเกิดอันตรายและความรุนแรง
F การควบคุม ดูแล มิให้ผู้ชุมนุมโดยเฉพาะผู้ทำาหน้าที่รักษาความปลอดภัยให้แก่ผู้
ชุมนุม (การ์ด) กระทำาการใด ๆ ที่เป็นการละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และสิทธิและ
เสรีภาพของบุคคลอื่น เช่น การใช้วาจาดูหมิ่นเหยียดหยาม ข่มขู่ คุกคาม ค้นตัว
หน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำาร้ายร่างกาย รวมถึงการทำาลายทรัพย์สินของผู้อื่นและทรัพย์สิน
ทางราชการ เป็นต้น
F การชุมนุมต้องหลีกเลี่ยงมิให้กระทบต่อสถานที่ที่สาธารณชนจำาเป็นต้องใช้ประโยชน์
ร่วมกัน เช่น โรงเรียน สถานพยาบาล ท่าอากาศยาน ท่าเรือ สถานีรถไฟ และสถานีขนส่ง
รวมถึง สถานที่สำาคัญ อาทิ หน่วยงานราชการ รัฐสภา ทำาเนียบรัฐบาล อาคารที่ทำาการ
ศาล สถานทูตและสถานกงสุล และสถานที่ตั้งของหน่วยงานภายใต้องค์การสหประชาชาติ
เป็นต้น
F การอำานวยความสะดวกและไม่ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์
ในการช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ และผู้ป่วย
F การหลีกเลี่ยงการพาเด็กเข้าร่วมการชุมนุมโดยไม่จำาเป็น