Page 47 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 47
46
46 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
นอกจากเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมทางการเมืองแล้ว ยังมีสถานการณ์เกี่ยวกับสิทธิ
พลเมืองและสิทธิทางการเมืองอื่นที่ควรกล่าวถึงในปี ๒๕๕๗ ได้แก่
กรณีกลุ่มบุคคลที่หลบหนีเข้าประเทศเพื่อหาที่พักพิง ทั้งจากการหนีภัยทางการเมือง การสู้รบ การประหัต
ประหาร ตลอดจนการแสวงหาโอกาสทางเศรษฐกิจ และการเดินทางไปยังประเทศ
ที่สาม ซึ่งกลุ่มบุคคลเหล่านี้มักเสี่ยงต่อการถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน และมีปัญหา
การส่งตัวกลับ ตลอดจนการปฏิบัติของรัฐที่ยังไม่สามารถให้ความช่วยเหลือดูแล
ได้อย่างเหมาะสม เช่น ชาวมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ (อุยกูร์) และกลุ่มมุสลิมโรฮิงญา
ซึ่งได้เข้ามาในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง
การคุกคาม บังคับหายสาบสูญ และสังหารแกนนำาชุมชนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน ในปี ๒๕๕๗
มีเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนหลายกรณี เช่น
การหายตัวไปของนายพอละจีหรือบิลลี่ รักจงเจริญ ชาวกะเหรี่ยงซี่งเป็น
ผู้เคลื่อนไหวด้านสิทธิชุมชนและต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่อุทยานแห่งชาติ
แก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน ๒๕๕๗ การลอบสังหาร
นายพิธาน ทองพนัง แกนนำาชาวบ้านตำาบลกรุงชิง อำาเภอนบพิตำา จังหวัด
นครศรีธรรมราช ซึ่งเคลื่อนไหวคัดค้านการให้สัมปทานเหมืองแร่ในพื้นที่
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ และการลอบสังหารนายสมสุข เกาะกลาง
แกนนำาชาวบ้านจังหวัดกระบี่เคลื่อนไหวเรียกร้องให้รัฐจัดสรรที่ดินของ
ภาคเอกชนที่กำาลังหมดสัมปทานให้เป็นที่ทำากินของประชาชน เมื่อวันที่
๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
กรณีสิทธิด้านความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตบนท้องถนน ในปี ๒๕๕๗ พบว่า มีความสูญเสียในทุกด้าน ไม่ว่า
จะเป็นการเสียชีวิต การบาดเจ็บ ความพิการ และความสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ซึ่งเกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ได้ลดลงเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉลี่ยยังมี
ผู้เสียชีวิตบนท้องถนนของประเทศไทย ประมาณวันละ ๖๐ คน และความสูญเสีย
ทางเศรษฐกิจยังสูงถึง ๕๐๐,๐๐๐ ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ รัฐบาลได้แถลงนโยบาย
ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ว่าจะให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ
ในการจราจรอันนำาไปสู่การบาดเจ็บและเสียชีวิต โดยการร่วมมือระหว่างฝ่ายต่าง ๆ
ในการตรวจจับเพื่อป้องกัน การรายงานและการดูแลผู้บาดเจ็บ นอกจากนี้ ได้มี
การให้ความสำาคัญต่อปัญหาอุบัติเหตุทางถนน เช่น การกำาหนดมาตรการรณรงค์
และมาตรการทางกฎหมายการให้ความสำาคัญกับการรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนน
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ และเทศกาลสงกรานต์ แต่การทำางานดังกล่าวยังคงปรากฎใน
รูปแบบเดิมเหมือนกันทุกปี โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น กฎหมายจราจร
ไม่สามารถบังคับใช้ได้อย่างจริงจัง รวมทั้งไม่มีการดำาเนินการที่ต่อเนื่อง และขาด
การติดตามประเมินผล