Page 50 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 50
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 49
สามารถพูดภาษาตุรกีได้และเชื่อว่าบรรพบุรุษ คือ ชนชาติตุรกี ชาวอุยกูร์ที่เข้ามาจะแสดงตนว่าเป็น
บุคคลผู้ไร้เอกสารพิสูจน์ตน (Undocumented Persons) หรือแสดงตนว่าเป็นชาวตุรกี เพื่อหลีกเลี่ยง
การคัดกรองและพิสูจน์สัญชาติ ในเดือนมีนาคม ๒๕๕๗ มีรายงานข่าวการจับกุมชาวอุยกูร์ที่จังหวัด
สงขลา จำานวน ๒๙๓ คน โดย กสม. ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมพบว่า ได้มีการแยกควบคุมตัวผู้ชาย
ในห้องกัก กองบังคับการตำารวจตรวจคนเข้าเมือง ๖ จังหวัดสงขลา ส่วนเด็กและผู้หญิงแยกไปควบคุมตัว
ที่บ้านพักเด็กและสตรีสงขลา ในการดูแลของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
ซึ่งต่อมามีรายงานว่า เด็กและผู้หญิงกลุ่มดังกล่าวได้หลบหนีออกจากบ้านพัก
๑๑
ในส่วนของชาวมุสลิมโรฮิงญา และสภาพการถูกควบคุมตัวในห้องกักสำานักงาน
ตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) สำานักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เผยแพร่
รายงานประจำาปีเกี่ยวกับแนวโน้มของผู้ลี้ภัยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า มีจำานวนเพิ่มขึ้น
จาก ๔๑๕,๓๐๐ คน ในปี ๒๕๕๕ เป็น ๘ แสนคน ในปี ๒๕๕๗ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา
๑๒
จากเมียนมา และได้อพยพเข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำาหรับ
๑๓
ประเทศไทยมีตัวเลขคาดการณ์ว่า มีชาวโรฮิงญาอยู่ประมาณ ๑ แสนคน ทั้งนี้ สถานการณ์ยังคง
ไม่ต่างจาก ปี ๒๕๕๖ กล่าวคือ มีชาวโรฮิงญาหลบหนีเข้าสู่ประเทศไทย ทั้งที่เข้ามาทำางานโดยผ่าน
กระบวนการค้ามนุษย์ และต้องการเดินทางผ่านประเทศไทยไปยังประเทศที่สาม เช่น มาเลเซีย และ
อินโดนีเซีย มีการจับกุมชาวโรฮิงญาในฐานะเป็นผู้เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รวมถึงมีข่าวการผลักดัน
ผู้ที่อพยพทางทะเล กสม. ได้ตรวจเยี่ยมห้องกักของสำานักงาน ตม. ในหลาย ๆ แห่ง และพบว่ายังมี
สภาพแออัดและไม่ถูกสุขลักษณะ
ในส่วนของการคุกคาม บังคับหายสาบสูญ และ
สังหารแกนนำาชุมชนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน กสม. ได้ดำาเนินการ
ตรวจสอบข้อเท็จจริงในกรณีการหายตัวไปของนายพอละจีหรือบิลลี่
รักจงเจริญ ตลอดจนการสังหารแกนนำาชุมชนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิ์
พร้อมกับการตั้งคณะทำางานเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิ
โดยทำาการสัมภาษณ์ รวบรวมข้อเท็จจริง และจัดทำาข้อเสนอแนะเชิง
นโยบายที่เกี่ยวข้องเสนอต่อรัฐบาล
๑๑ ราชบัณฑิตยสภา กำาหนดให้ใช้คำาว่า “โรฮีนจา” ตามการออกเสียงของชาวเมียนมา แต่คำาเรียกที่บุคคลในกลุ่มเรียกขานตนเองคือ
“โรฮิงญา”
๑๒ สำานักงานข้าหลวงใหญ่ด้านผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ <www.aecnews.co.th/aec_sreport/read/717> เข้าดูข้อมูล ณ วันที่ ๔
พฤษภาคม ๒๕๕๘
๑๓ สำานักข่าวอิศรา <www.isranew.org> เข้าดูข้อมูล ณ วันที่ ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘