Page 48 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 48
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 47
๒.๒) สถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชน และการดำาเนินงานของ กสม.
ในส่วนของสถานการณ์ความรุนแรงที่สืบเนื่องจากเหตุการณ์การชุมนุมทางการเมือง
ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายอย่างต่อเนื่อง กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่ามีการ
ละเมิดสิทธิมนุษยชนในเหตุการณ์ดังกล่าว จำานวน ๒๒ คำาร้อง โดยส่วนใหญ่เป็นคำาร้องระหว่างคู่ขัดแย้ง
ทางการเมือง ทั้งคำาร้องที่กล่าวอ้างว่า รัฐบาลและหน่วยงานของรัฐกระทำาการอันเป็นการละเมิด
สิทธิมนุษยชน เช่น การบังคับใช้กฎหมายและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ การควบคุมตรวจสอบ
้
การสื่อสารส่วนบุคคล การใช้นำาผสมสารเคมีซึ่งเข้าใจว่าเป็นอันตรายต่อผู้ชุมนุม และการสลายการ
ชุมนุม เป็นต้น และคำาร้องที่กล่าวอ้างว่า กปปส. และผู้ชุมนุมกระทำาการอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน
เช่น การปิดสถานที่ราชการและการใช้พื้นที่สาธารณะในการชุมนุม และการใช้ความรุนแรงของผู้ชุมนุม
เป็นต้น
ทั้งนี้ กสม. ได้กำาหนดให้มีการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนจากเหตุการณ์สำาคัญ
ที่มีความรุนแรงและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง รวม ๘ กรณี ดังนี้
๑. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณรอบมหาวิทยาลัยรามคำาแหง ระหว่างวันที่
๓๐ พฤศจิกายน – ธันวาคม ๒๕๕๖
๒. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณรอบทำาเนียบรัฐบาล ระหว่างวันที่ ๑-๓ ธันวาคม
๒๕๕๖
๓. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณสนามกีฬาไทย–ญี่ปุ่น ดินแดง เมื่อวันที่ ๒๖ ธันวาคม
๒๕๕๖
๔. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณวัดศรีเอี่ยม เขตบางนา เมื่อวันที่ ๒๖ มกราคม ๒๕๕๗
๕. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณแยกหลักสี่-ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา
ถนนแจ้งวัฒนะ เมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
๖. เหตุการณ์ความรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์
๒๕๕๗
๗. เหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในช่วงที่กลุ่ม กปปส. เคลื่อนขบวนไปยังบริเวณถนน
บรรทัดทองและวัดบัวขวัญ เหตุระเบิดหน้าห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาราชดำาริ
และการชุมนุมที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และอำาเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
๘. เหตุการณ์อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงต่อเนื่องจากเหตุการณ์ในช่วงการชุมนุมดังกล่าว
ในช่วงระหว่างการชุมนุมทางการเมือง กสม. ได้ติดตามสถานการณ์การชุมนุม
เรียกร้องทางการเมืองมาอย่างต่อเนื่อง โดยเห็นว่า สถานการณ์บางช่วงของการชุมนุมอาจจะนำาไปสู่
ความรุนแรงในการใช้อำานาจรัฐ และการชุมนุมของประชาชนอาจจะมีผู้สร้างสถานการณ์ทำาให้เกิดความ
วุ่นวายเหมือนการชุมนุมที่ผ่านมาในอดีตที่ทำาให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน ตลอดจนกระทบ
สิทธิมนุษยชนในด้านต่าง ๆ กสม.จึงได้ออกแถลงการณ์เพื่อให้ข้อเสนอแนะให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและ