Page 55 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 55
54 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๑) เกณฑ์การประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชน
๑.๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
๑.๑.๑) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗
มาตรา ๔ บัญญัติว่า ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความ
เป็นมนุษย์ สิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครอง
ตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
ทรงเป็นประมุขและตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับ
การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้
๑.๑.๒) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ (แก้ไขเพิ่มเติม
พุทธศักราช ๒๕๕๔)
มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง
(๒) สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐาน
เรื่องการได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสาร
อย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้าน
ผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณา
คดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำาวินิจฉัย คำาพิพากษา หรือคำาสั่ง
(๓) บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว
และเป็นธรรม
(๔) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทก์ จำาเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี
มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำาเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้ง
สิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำาเป็น
ปฏิปักษ์ต่อตนเอง
(๕) ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำาเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับความคุ้มครอง
และความช่วยเหลือที่จำาเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และ
ค่าใช้จ่ายที่จำาเป็น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ