Page 54 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 54
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 53
กสม. เห็นว่า ในสถานการณ์พิเศษ สิทธิและเสรีภาพบางประการอาจจะถูกจำากัดได้ แต่ต้อง
เป็นไปตามหลักกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ กล่าวคือ เป้าหมายในการจำากัดสิทธิเสรีภาพ
ดังกล่าวต้องเป็นเป้าหมายที่มีความชอบธรรม มีการตีความอย่างแคบและกระทำาเท่าที่จำาเป็นต่อ
สถานการณ์และได้สัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งนี้ มีสิทธิบางประเภทที่ไม่สามารถเพิกถอนหรือลิดรอนได้ไม่ว่า
จะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม เช่น สิทธิในชีวิต สิทธิที่จะไม่ถูกทรมาน ดังนั้น รัฐควรทบทวนถึงความจำาเป็น
โดยเฉพาะการกลับมาใช้กระบวนการยุติธรรมตามปกติที่ประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่ถูกกล่าวหา
ตลอดจน การคำานึงถึงการรับฟังความเห็นและการมีส่วนร่วมของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากคำาสั่ง
นโยบายและโครงการของรัฐ
ในกรณีการหลบหนีเข้าเมืองของชาวอุยกูร์และชาวโรฮิงญา ตลอดจนสภาพการถูกควบคุม
ตัวในห้องกักที่ กสม. ได้ตรวจเยี่ยมด่านตรวจคนเข้าเมือง ซึ่งยังพบข้อจำากัดในการจัดสภาพห้องกักให้
ได้มาตรฐานในด้านสุขลักษณะ โดยเฉพาะเด็กที่อยู่ในสถานที่กัก นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย
ในการคุ้มครองบุคคลที่หลบหนีเข้าเมืองและอยู่ในภาวะเสี่ยงต่ออันตรายหรือชีวิตหากถูกส่งกลับไปยัง
ประเทศต้นทาง โดยเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีกลไกในการพิจารณาอย่างรอบคอบถึงสถานะบุคคล
ในข่ายดังกล่าว ตามมาตรา ๑๗ ของพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. ๒๕๒๒
ในกรณีการคุกคาม บังคับหายสาบสูญ และสังหารแกนนำาชุมชนที่เป็นผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน
ยังเห็นว่า การสอบสวนคดีโดยส่วนใหญ่ยังคงมีอุปสรรคทั้งจากกลไกการปฏิบัติงานตรวจสอบ และ
การคุ้มครองพยานที่ขาดประสิทธิภาพ และไม่มีความเหมาะสม ตลอดจนการใช้อิทธิพลทางการเมือง
เข้าแทรกแซงคดีการสังหาร หรือบังคับหายสาบสูญผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน กสม. ได้จัดทำาข้อเสนอต่อ
การคุ้มครองผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชนตามปฏิญญาสหประชาชาติว่าด้วยผู้พิทักษ์สิทธิมนุษยชน (UN
Declaration on Human Rights Defenders) โดยเสนอให้รัฐบาลแสดงเจตจำานงที่ชัดเจนต่อสาธารณะ
ว่าจะคุ้มครองประชาชนที่อุทิศตนในการปกป้องสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมสิทธิมนุษยชน
ในกรณีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตบนท้องถนน ตามสถานการณ์ในปี ๒๕๕๗ ประชาชนไทย
่
ยังมีความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตในการใช้รถใช้ถนนอยู่ในเกณฑ์ตำามาก ประเทศไทยยังคงเป็นประเทศ
ที่มีอัตราการเสียชีวิตบนท้องถนนเป็นอันดับที่หนึ่งของเอเชีย และเป็นอันดับที่สามของโลก ความสูญเสีย
ที่เกิดขึ้นถือเป็นการละเลยการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ต้องมีหน้าที่รับผิดชอบ ที่ยังไม่สามารถจัดการให้ถนน
ในประเทศไทยมีความปลอดภัยเพียงพอสำาหรับการเดินทาง รวมทั้งในส่วนของประชาชนในฐานะผู้ที่ต้อง
ใช้ชีวิตบนท้องถนนโดยไม่มีความปลอดภัย โดยส่วนใหญ่ยังเข้าใจว่า อุบัติเหตุเป็นเรื่องของเคราะห์กรรม
จึงไม่เรียกร้องถึงสิทธิที่จะมีชีวิตอย่างปลอดภัยบนท้องถนนให้มากยิ่งขึ้น กสม. เห็นว่า รัฐบาลมีข้อผูกพัน
ในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่อาศัยอยู่ในประเทศให้มีความมั่นคงและปลอดภัยในทุกบริบท
ซึ่งรวมถึงบนท้องถนน รัฐจึงไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบ โดยให้เหตุผลว่า ได้ดำาเนินการในเรื่องดังกล่าว
อย่างเต็มที่แล้ว แต่รัฐควรทบทวนนโยบายและมาตรการต่าง ๆ ในการที่จะปกป้องคุ้มครองชีวิตของ
ประชาชนให้พ้นจากอันตรายบนท้องถนน โดยต้องหามาตรการที่แตกต่างและเหมาะสมกับปัญหามากขึ้น
กว่าในปัจจุบันนี้ การดำาเนินการดังกล่าวควรอยู่ในวาระแห่งชาติในการแก้ไขปัญหาของประเทศ ซึ่งจำาเป็น
ต้องมีการประเมินและรายงานผลเป็นประจำาอย่างต่อเนื่อง