Page 51 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 51
50 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๓) การประเมินสถานการณ์
จากเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้น กสม. เห็นว่า การชุมนุมทางการเมือง
ที่มีผู้เข้าร่วมจำานวนมาก ทำาให้มีโอกาสจะเกิดความรุนแรงและการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายมิติ
เช่น สิทธิในทรัพย์สิน สิทธิในการเดินทาง สิทธิในชีวิตและร่างกาย ทั้งต่อประชาชนทั่วไป ผู้ชุมนุม และ
เจ้าหน้าที่ที่รักษาความสงบเรียบร้อย นอกจากนี้ ยังเกิดความยากลำาบากในการการควบคุมความสงบ
เรียบร้อยของการชุมนุม จนทำาให้เกิดการลอบทำาร้ายผู้ชุมนุม โดยเจ้าหน้าที่ยังไม่สามารถติดตามจับกุม
ผู้กระทำาการละเมิดมาลงโทษได้ และเมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องควบคุมสถานการณ์และบังคับใช้กฎหมาย
ก็เสี่ยงต่อการปะทะกับผู้ชุมนุมจนกลายเป็นเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนี้ เมื่อรัฐพยายามควบคุมการ
ชุมนุมไม่ให้ขยายวงกว้างออกไป ก็มักจะเกิดการควบคุมสื่อและเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น จนเกิน
สัดส่วนที่เหมาะสมและจำาเป็น จากเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส. กสม. เห็นว่า
F รัฐบาลควรมีมาตรการดูแลความปลอดภัยของผู้ชุมนุม และเตรียมพร้อมในกรณีซึ่งอาจ
เกิดเหตุไม่สงบขึ้นจากการชุมนุม การใช้อาวุธ หรือจากการเผชิญหน้าระหว่างผู้ชุมนุม
กับกลุ่มบุคคลอื่น ๆ
F รัฐบาลควรตระหนักถึงเสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ และการปฏิบัติ
ของเจ้าหน้าที่รัฐต่อผู้ชุมนุม ต้องสอดคล้องกับหลักการสากลของการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่
ซึ่งมีอำานาจในการบังคับใช้กฎหมาย และหลักการใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่ โดยขอให้
เจ้าหน้าที่ของรัฐยึดหลักการดังกล่าวอย่างเคร่งครัด ได้สัดส่วนเหมาะสม เท่าที่จำาเป็น
ตามสถานการณ์ และคำานึงถึงผลลัพธ์ในทางสันติ
F รัฐบาลควรเร่งดำาเนินการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและติดตามผู้กระทำาความผิด
มาดำาเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรม
F หน่วยงานของรัฐต้องรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นตามข้อเท็จจริงให้สาธารณชนได้
รับทราบอย่างถูกต้อง รวดเร็ว ครบถ้วน รอบด้าน และดำาเนินการด้วยความระมัดระวัง
F รัฐบาลควรควบคุมมิให้เกิดการยั่วยุ บิดเบือนข้อมูล โฆษณาชวนเชื่อ และการใช้ภาษา
เพื่อสร้างความเกลียดชังระหว่างกัน (Hate Speech)
F รัฐบาลควรตระหนักถึงผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพจากการใช้กฎหมายพิเศษ ได้แก่
พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗ พระราชกำาหนดการบริหารราชการ
ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. ๒๕๔๘ และพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน
ราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ ว่าต้องใช้เท่าที่จำาเป็นและเหมาะสม ตลอดจนผลกระทบ
ที่ไม่พึงประสงค์ เช่น การทำาให้สถานการณ์มีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
F ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง รัฐต้องคำานึงถึงหลักนิติรัฐ นิติธรรม การมีส่วนร่วม
การยอมรับความแตกต่าง ตลอดจนการเคารพสิทธิมนุษยชน และการแก้ไขปัญหาสันติวิธี
โดยคำานึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของประเทศเป็นสำาคัญ