Page 49 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 49
48 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
สาธารณชนได้ร่วมกันแก้ไขสถานการณ์ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชน จำานวน ๑๑ ฉบับ มีสาระสำาคัญ
เกี่ยวกับความห่วงใยต่อเด็กและเยาวชนที่อยู่ในที่ชุมนุม ความเหมาะสมต่อการประกาศใช้พระราชบัญญัติ
การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ โดยขยายพื้นที่เพิ่มเติมในขณะที่สถานการณ์ยัง
ไม่เกิดความรุนแรงจากกลุ่มผู้ชุมนุม การขอให้ทุกฝ่ายยุติการใช้ความรุนแรงในเหตุการณ์การชุมนุมต่าง ๆ
และให้ยึดแนวทางสันติในการแก้ไขปัญหา เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน การคัดค้านการบังคับใช้
พระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นการทั่วไปในหลายพื้นที่ เมื่อวันที่ ๒๓
มกราคม ๒๕๕๖ เพราะเห็นว่าสถานการณ์และองค์ประกอบยังไม่เข้าขั้นสถานการณ์ฉุกเฉิน การแสดง
ข้อกังวลกรณีที่ผู้ชุมนุมจะเดินทางไปยังสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ เรียกร้องไม่ให้คุกคามสื่อและต้องเคารพ
สิทธิและเสรีภาพในการนำาเสนอข่าวสารข้อมูลของสื่อมวลชน ตลอดจนการเรียกร้องให้มีการกำาหนด
ขอบเขต ระยะเวลา และพื้นที่ในการบังคับใช้พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก พระพุทธศักราช ๒๔๕๗
ที่ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๕๗ เท่าที่จำาเป็นเท่านั้น นอกจากนี้ กสม. ยังเสนอจดหมาย
เปิดผนึก เรื่อง ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะต่อสถานการณ์ทางการเมืองต่อนายกรัฐมนตรี ประธานรัฐสภา
้
คณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภา เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๖ โดยเน้นยำา
ให้การพิจารณาร่างกฎหมายต่าง ๆ ที่อยู่ในขั้นตอนของสภานิติบัญญัติ ต้องยึดหลักนิติรัฐ หลักนิติธรรม
หลักธรรมาภิบาลและหลักสิทธิมนุษยชน ตามเจตนารมณ์ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง
และสิทธิทางการเมือง
หลังจากที่มีการควบคุมอำานาจการปกครองโดย คสช. กสม. ได้มีแถลงการณ์แสดง
ความห่วงกังวลต่อผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน ในขณะเดียวกัน กสม. ได้ประสานงานไปยัง คสช. เพื่อให้
คำานึงว่า การปฏิบัติการใด ๆ ต้องสอดคล้องกับหลักการสิทธิมนุษยชน การจำากัดสิทธิและเสรีภาพ
ต้องกระทำาเท่าที่จำาเป็นและได้สัดส่วนอย่างเหมาะสมเท่านั้น ในกรณีของบุคคลที่ถูกเรียกไปรายงานตัว
และถูกควบคุมตัวโดย คสช. จะต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเคารพต่อศักดิ์ศรีของบุคคลเหล่านั้น และ
จะต้องเปิดเผยให้สาธารณชนรับทราบโดยตลอด ซึ่ง คสช. ตอบรับข้อเสนอของ กสม. อย่างชัดเจน
้
โดยมีการเจรจาร่วมกันระหว่าง กสม. และผู้แทน คสช. ในหลายครั้ง พร้อมกับมีคำาสั่งเน้นยำาให้บุคลากร
เจ้าหน้าที่ และหน่วยงานในสังกัดของ คสช. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง และเคารพต่อหลักการ
ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนที่เกี่ยวกับตราสารระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี นอกจากนั้น ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม ๒๕๕๗
กสม. ได้เข้าตรวจเยี่ยมบุคคลที่ถูกควบคุมตัว และพบว่าบุคคลเหล่านั้นได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสม
ในส่วนของสถานการณ์การหลบหนีเข้าเมืองของชาวมุสลิมไม่ทราบสัญชาติ (อุยกูร์)
กสม. ได้รับข้อมูลว่า ชาวอุยกูร์ที่หลบหนีออกจากประเทศจีนโดยอาศัยกระบวนการลักลอบส่งคน
เข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย กลุ่มที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทยจะอาศัยอยู่ในรถบรรทุกแบบปิดทึบ
และเมื่อเข้าประเทศแล้วจะกระจายอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ อาทิ ระนอง ปราจีนบุรี และตราด ซึ่งส่วนใหญ่
จะซ่อนตัวอยู่ในป่า จุดหมายปลายทางของชาวอุยกูร์ต้องการจะเดินทางไปยังประเทศตุรกีเนื่องจาก