Page 53 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 53

52 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                              ในช่วงการเข้าควบคุมอำานาจของ คสช. มีความจำาเป็นที่จะต้องใช้มาตรการจำากัดสิทธิและ

                    เสรีภาพบางประการในช่วงระยะเวลาที่มีแนวโน้มว่าจะมีสถานการณ์ความรุนแรงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
                    และอาจจะเกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนและต่อต้านรัฐบาล ประกอบกับมีผู้ใช้อาวุธสงคราม

                    ต่อประชาชนผู้ชุมนุม และสถานที่สำาคัญหลายครั้ง  และมีการจับกุมอาวุธสงครามได้เป็นจำานวนมาก
                    แต่ภายหลังการเข้าควบคุมอำานาจในระยะหนึ่ง เห็นว่ามีสถานการณ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพ

                    อย่างมีนัยสำาคัญหลายประการ ดังนี้

                              F  การกำาหนดให้ความผิดบางประเภทตามประมวลกฎหมายอยู่ในอำานาจพิจารณาพิพากษา

                                 คดีของศาลทหารนั้น ย่อมกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลในกระบวนการยุติธรรม
                                                      ๑๔
                                 ที่พึงได้รับในช่วงเวลาปกติ   เนื่องจากศาลทหารมีการพิจารณาแค่ศาลชั้นเดียวจึงเป็น
                                 การจำากัดโอกาสในการให้หลักประกันสิทธิทางอาญาของผู้ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ จากการ

                                 ตรวจสอบของ กสม. เห็นว่า มีกระบวนพิจารณาที่ถือเป็นความลับ อาจทำาให้สังคม

                                 ภายนอกเกิดความกังวลต่อผลการพิจารณาคดี
                              F  การจำากัดสิทธิ และเสรีภาพบางประการที่นานเกินไป เช่น เสรีภาพในการแสดงความ
                                 คิดเห็นอาจขัดต่อหลักการระหว่างประเทศว่าการจำากัดสิทธิเสรีภาพนั้น ต้องเป็นไป

                                 เพื่อวัตถุประสงค์ที่ชอบธรรม และต้องได้สัดส่วนกับความจำาเป็น

                              F  การควบคุม จำากัด ความเคลื่อนไหวทางการเมืองของฝ่ายต่าง ๆ ได้ถูกตีความอย่าง
                                 กว้างขวางจนกระทบถึงสิทธิเสรีภาพของบุคคลและชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากนโยบาย
                                 หรือโครงการของรัฐ และย่อมมีสิทธิที่จะแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่

                                 เกี่ยวข้องเพื่อนำาไปประกอบการพิจารณา รวมถึงสิทธิในการมีส่วนร่วมในการจัดการ

                                 การบำารุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความ
                                 หลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน
                              F  ในกรณีของคำาสั่ง คสช. ที่มีเจตนาเพื่อแก้ไขปัญหาของประเทศ แต่กลับทำาให้เกิดผลกระทบ

                                 ที่เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชน เช่น กรณีคำาสั่ง คสช. ที่ ๖๔/๒๕๕๗ และที่ ๖๖/๒๕๕๗

                                 เพื่อปราบปรามและหยุดยั้งการบุกรุกทำาลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ต่าง ๆ ให้เป็นไป
                                 อย่างมีประสิทธิภาพ  ปรากฏว่าได้ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย
                                 และผู้ไร้ที่ดินทำากิน ซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่เดิมนั้น ๆ ก่อนคำาสั่งนี้มีผลบังคับใช้






                    ๑๔  ข้อมูลระหว่างวันที่ ๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๗ - ๒๐ มีนาคม ๒๕๕๘  มีพลเรือนขึ้นศาลทหารอย่างน้อย ๑๑๒ คนโดยแบ่งเป็น

                       คดีชุมนุมทางการเมืองเกิน ๕ คน อย่างน้อย ๕๐ คน คดีไม่มารายงานตัวตามคำาสั่ง คสช. อย่างน้อย ๑๐ คน คดีความผิด
                       ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ อย่างน้อย ๓๐ คน และมาตรา ๑๑๖ อย่างน้อย ๒ คน คดีอาวุธที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
                       อย่างน้อย ๔๙ คน และคดีอื่นๆ อย่างน้อย ๓  คน, ที่มา: โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (iLaw)<http://ilaw.or.th/
                       node/3119> เข้าดู ณ วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๕๘
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58