Page 45 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 45
44 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ส่วนราชการ และรัฐวิสาหกิจหลายแห่ง มีการปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับ
ผู้ชุมนุม ในช่วงระหว่างการชุมนุมได้มีการลอบทำาร้ายกลุ่มผู้ชุมนุมตามเวทีต่าง ๆ มีการปะทะระหว่าง
ผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่เมื่อมีการปิดล้อมสถานที่รับสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในขณะเดียวกัน
กลุ่มผู้สนับสนุนรัฐบาลและกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้จัดการชุมนุม
ที่สนามราชมังคลากีฬาสถานและบริเวณถนนอักษะเพื่อต่อต้านฝ่าย กปปส. มีการปิดล้อมและใช้อาวุธปืน
ยิงเข้าไปในมหาวิทยาลัยรวมถึงการสลายการชุมนุม สถานการณ์ความรุนแรงยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง
และมีแนวโน้มว่าจะเกิดการเผชิญหน้าระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนรัฐบาลและฝ่ายที่ต่อต้านรัฐบาล ประกอบกับ
มีผู้ใช้อาวุธสงครามต่อประชาชนผู้ชุมนุม และสถานที่สำาคัญหลายครั้ง โดยศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน
กรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ได้รวบรวมข้อมูลการบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการชุมนุมทั้งใน
กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด จำานวน ๙๖ เหตุการณ์ มียอดผู้เสียชีวิตระหว่างวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ –
๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๗ รวม ๒๕ ราย และผู้บาดเจ็บ ๗๘๒ ราย ๙
ทั้งนี้ ในช่วงการชุมนุมตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ๒๕๕๖ ถึงพฤษภาคม ๒๕๕๗ รัฐบาล
ประกาศใช้กฎหมายพิเศษ โดยประกาศพื้นที่ที่มีเหตุการณ์อันกระทบต่อความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
ตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. ๒๕๕๑ รวม ๔ ครั้ง และประกาศ
สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ตามพระราชกำาหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
พ.ศ. ๒๕๔๘ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และพื้นที่อำาเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
และอำาเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี
๙ หนังสือศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ที่ กท ๐๖๑๓.๓/๑๗๒ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๘ เรื่อง
สถิติจำานวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมือง