Page 44 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 44
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 43
๒) สถานการณ์
๒.๑) สภาพปัญหาทั่วไป
กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองได้ประกันสิทธิ
ของบุคคลไว้หลายประการ ครอบคลุมตั้งแต่สิทธิที่จะมีชีวิต การห้ามการทรมาน/ลงโทษทารุณโหดร้าย
เสรีภาพในความปลอดภัยของร่างกาย การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานเมื่อถูกจับกุม กล่าวหาและดำาเนินคดี
เสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัย ความเสมอภาคในด้านกฎหมาย สิทธิในสถานะบุคคล สิทธิในความ
เป็นส่วนตัว สิทธิเสรีภาพทางความคิดและศาสนา และสิทธิในการชุมนุมอย่างสงบ เป็นต้น ซึ่งจะปรากฏ
อยู่ในหัวข้อเฉพาะต่าง ๆ ของรายงานฉบับนี้ อาทิ สิทธิในกระบวนการยุติธรรม และสิทธิมนุษยชนในพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในส่วนของสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองมีสถานการณ์สำาคัญที่ควรกล่าวถึง
เป็นการเฉพาะ ดังนี้
เหตุการณ์การชุมนุมทางการเมืองและการเข้าควบคุมอำานาจการปกครองของ คสช.
แบ่งออกเป็น ๒ ช่วงหลัก คือ
ช่วงเหตุการณ์การชุมนุมของ กปปส.
ในปลายปี ๒๕๕๖ ฝ่ายต่าง ๆ อาทิ กองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณ (กปท.)
เครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย (คปท.) กลุ่มนักวิชาการ กลุ่มประชาคมนักธุรกิจสีลม
เครือข่ายนักธุรกิจเพื่อประชาธิปไตย กองทัพธรรม สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เป็นต้น ได้ออกมา
ชุมนุมคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำาความผิด เนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง
การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน พ.ศ. .... (ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ) ซึ่งเสนอโดย
พรรคฝ่ายรัฐบาล และต่อมากลุ่มต่าง ๆ ได้รวมกันเป็นเครือข่ายต่อต้านรัฐบาลในนาม “คณะกรรมการ
ประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรง
เป็นประมุข (กปปส.)” มีการเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุมไปปิดล้อมสถานที่สำาคัญของหน่วยงานราชการ
รัฐวิสาหกิจและเอกชน เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ และมิให้หน่วยงานสามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติ
เพราะเห็นว่ารัฐบาลหมดความชอบธรรมในการบริหารประเทศ
ต่อมา วันที่ ๙ ธันวาคม ๒๕๕๖ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศ
ยุบสภาผู้แทนราษฎร และกำาหนดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ โดยรัฐบาลแจ้งว่า
จำาเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่ กปปส.
ต้องการให้มีการปฏิรูปประเทศก่อนการเลือกตั้ง จึงชุมนุมต่อไปเพื่อกดดันให้นายกรัฐมนตรีและ
คณะรัฐมนตรีลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ ด้วยการนัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ ๒๒ ธันวาคม ๒๕๕๖ และ
กำาหนดให้วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๗ เป็นวันปิดกรุงเทพมหานคร (Bangkok Shutdown) รวมทั้งมีการ
เดินรณรงค์ไปยังถนนสายต่าง ๆ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร เพื่อเชิญชวนให้ประชาชนเข้าร่วมการชุมนุม
มีการนำากลุ่มผู้ชุมนุมไปยังสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ เรียกร้องให้มีการนำาเสนอข้อมูลข่าวสารของทุกฝ่าย
อย่างเป็นกลาง มีการปิดล้อมและยึดทำาเนียบรัฐบาล ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ ๘๐ พรรษา