Page 237 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 237

236  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                    ที่ไม่ทำาลายล้าง ไม่ทำาลายระบบนิเวศ และสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการจัดการและดูแล

                    ทรัพยากรธรรมชาติ โดยร่วมกันยึดแนวทางการพัฒนาบนหลักการสิทธิชุมชนและการบริหารการจัดการ
                    สังคมที่มีการกระจายอำานาจและถ่ายโอนลงสู่ชุมชนท้องถิ่น

                              สำาหรับกรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช ต้องการมีสิทธิและมีส่วนร่วมในการกำาหนดอนาคต
                    ของตนเองในการจัดทำาแผนของชุมชน จังหวัด และกำาหนดอนาคตของตนเองบนฐานทรัพยากร จารีต

                    ประเพณี และวิถีชีวิต ของตนเองและประกาศเขตคุ้มครองพื้นที่ผลิตอาหารชายฝั่งทะเลนครศรีธรรมราช
                    พัฒนาเมืองที่พึ่งตนเองและยั่งยืน บนฐานเศรษฐกิจหลากหลายประเภท และการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน

                    เพื่อการพึ่งตนเองของเมือง
                              ส่วนกรณีศึกษาจังหวัดสงขลา เสนอแนะให้มีการศึกษาผลกระทบของโครงการที่ได้สร้างเสร็จ

                    และเปิดดำาเนินการแล้วอย่างเป็นระบบครอบคลุมทุกมิติ และศึกษาเรื่องกลุ่มผลประโยชน์ในแผนพัฒนา
                    ภาคใต้ที่เป็นการจงใจออกแบบเพื่อให้ได้ประโยชน์แก่กลุ่มคนบางส่วน  รวมถึงจัดทำาประเด็นร่วมเรื่อง

                    อาหาร ที่ดิน ประมง และหยุดอุตสาหกรรม และมีส่วนร่วมในการจัดทำาและกำาหนดทิศทางการพัฒนา
                    และแผนพัฒนาของชุมชนตนเองจังหวัดสงขลา

                              กรณีศึกษาจังหวัดสตูล เสนอแนะให้รัฐทบทวนแผนพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคใต้และโครงการ
                    ขนาดใหญ่ที่กำาลังจะเกิดขึ้นในจังหวัดสตูล  และสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่จังหวัดสตูลบนฐานต้นทุน

                    ทางสังคม ทรัพยากรธรรมชาติ และศักยภาพของพื้นที่ โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างแท้จริง
                    ต้องจัดให้มีการสำารวจและศึกษาพื้นที่คุ้มครองเฉพาะ เพื่อประกาศให้เป็นเขตอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล

                    และชายฝั่งในระดับภูมินิเวศ ส่งเสริมให้มีการการจัดตั้งเครือข่ายองค์กรชุมชนประมงพื้นบ้าน และสนับสนุน
                    กลุ่มเหล่านั้นให้ดูแล รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน

                    และส่งเสริมการศึกษาทางเลือก
                              ส่วนข้อเสนอแนะของผู้วิจัยต่อ กสม. ในเชิงนโยบายควรผลักดันให้มีการทบทวนแผน

                    พัฒนาภาคใต้ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพิจารณากำาหนดอย่างแท้จริง และควรผลักดันให้เกิดการปฏิรูป
                    ระบบในการจัดทำารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) และรายงานการประเมินผลกระทบ

                    สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (EHIA)  ควรรีบเร่งผลักดันพระราชบัญญัติสิทธิชุมชน  และควรผลักดัน
                    ให้มีการปรับปรุงกฎหมายและกฎกระทรวง และระเบียบของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำา

                    ยุทธศาสตร์และแผนพัฒนา การพัฒนาสาธารณูปโภค การจัดตั้งพื้นที่อุตสาหกรรม และอื่น ๆ ให้อนุวัติ
                    และสอดคล้องกับหลักการสิทธิชุมชนและสิทธิมนุษยชน ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

                    พุทธศักราช ๒๕๕๐ ตามบทบัญญัติของมาตรา ๖๗ วรรค ๒
                              สำาหรับข้อเสนอแนะต่อการดำาเนินการเชิงรุก ควรผลักดันให้เกิดการปรับปรุงระบบ

                    กระบวนการ และกลไกในการจัดทำารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้อนุวัติตามบทบัญญัติ
                    ในรัฐธรรมนูญ  โดยการจัดเวทีให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องสิทธิชุมชนและระบบการจัดทำารายงาน

                    การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ประสานเครือข่ายนักวิชาการเพื่อปฏิรูประบบการจัดทำารายงาน
   232   233   234   235   236   237   238   239   240   241   242