Page 241 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 241

240  รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗








                                  (๒.๔)  การเสนอแนะให้รัฐบาล โดยกระทรวงแรงงานให้ความสำาคัญกับประเด็นการ

                    เลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี มีการรณรงค์ให้สาธารณชนเห็นความสำาคัญของ
                    ปัญหาการเลือกปฏิบัติมากขึ้น ตลอดจนผลักดันให้มาตรการป้องกันการเลือกปฏิบัติที่มีอยู่เกิดผลในทาง

                    ปฏิบัติ โดยเฉพาะแนวปฏิบัติแห่งชาติว่าด้วยการป้องกันและบริหารจัดการด้านเอดส์ในสถานที่ทำางานของ
                    คช.ปอ. และแนวปฏิบัติการป้องกันและจัดการด้านเอดส์ในสถานประกอบกิจการของกระทรวงแรงงาน

                    ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติเรื่องการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชน ตามมาตรา ๒๘ วรรคสอง แห่ง
                    พระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ตลอดจนควรส่งเสริมให้มีการเจรจา

                    แบบไตรภาคีเพื่อหาข้อตกลงร่วม และแนวปฏิบัติเพื่อการขจัดการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ
                    และการส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในส่วนของนโยบายการจ้างงานของ

                    สถานประกอบการต่าง ๆ  ทั้งนี้ เป็นไปตามอำานาจหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญแห่ง
                    ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ มาตรา ๒๕๗ (๗)

                                  ทั้งนี้ รวมไปถึงมาตรฐาน ASO THAILAND ที่ยังไม่มีแรงจูงใจให้นายจ้างเข้าร่วมโครงการ
                    จำาเป็นต้องเสนอแนะให้หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมควบคุมโรค

                    และสมาคมแนวร่วมธุรกิจไทยต้านภัยเอดส์ ดำาเนินงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง โดยเฉพาะ
                    ฝ่ายลูกจ้าง หรือผู้ติดเชื้อเอชไอวีให้เข้ามามีบทบาทในการร่วมผลักดันให้มากขึ้น

                                  (๒.๕)  การเสนอแนะให้หน่วยงานภาครัฐที่มีอำานาจหน้าที่ในเรื่องการคุ้มครองสิทธิ
                    เสรีภาพของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการประกอบอาชีพ หรือสิทธิมนุษยชนในภาพรวม เช่น

                    กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
                    สร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องเชื้อเอชไอวี/โรคเอดส์ เพื่อให้องค์กรเหล่านี้สามารถคุ้มครอง

                    สิทธิของประชาชนและผู้ติดเชื้อได้อย่างแท้จริง







                              โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง บันทึกคำาบอกเล่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์

                       ๔)                      ความไม่สงบและความรุนแรงในระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย
                                               พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗

                              ผู้ศึกษาวิจัย :   คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
                                               (รศ. ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำานวย)


                              สาระสำาคัญของการศึกษาวิจัย
                              เป็นการวิจัยสำารวจเชิงคุณภาพ (exploratory qualitative research) โดยมีวัตถุประสงค์

                    เพื่อสำารวจข้อมูลพื้นฐาน ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ ผลกระทบ และข้อเสนอ ตลอดจนการบันทึก
   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245   246