Page 240 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 240

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 239











                                 (๒)  ข้อเสนอแนะแนวทางและมาตรการที่เหมาะสมในการคุ้มครองสิทธิในการประกอบ

                                     อาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวี โดยใช้มาตรการอื่น ๆ
                                     ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาวิจัยมีข้อเสนอต่อ กสม. ดังนี้

                                     (๒.๑)  การกำาหนดมาตรการที่ชัดเจนในการสนับสนุนการดำาเนินงานขององค์การเอกชน
                       ด้านสิทธิมนุษยชน ตลอดจนเจ้าของปัญหาที่ได้รับผลกระทบในการเลือกปฏิบัติและละเมิดสิทธิมนุษยชน

                       ในประเด็นดังกล่าว  โดยอาจพิจารณาแนวทางการส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในภาคประชาสังคม ด้วยการ
                       จัดตั้งกองทุนเพื่อส่งเสริมการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน รวมทั้งเสนอแนะไปยังรัฐบาลเพื่อให้มีการตั้งกองทุน

                       เพื่อส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีผ่านคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการป้องกัน
                       และแก้ไขปัญหาเอดส์ (คช.ปอ.)  ทั้งนี้ เพื่อลดช่องว่างในการดำาเนินงานเพื่อคุ้มครองสิทธิในการประกอบ

                       อาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีของภาครัฐ โดยยอมรับและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือจากภาคประชาสังคม
                       และเสริมความเข้มแข็งให้กับองค์กรภาคประชาสังคม และเจ้าของปัญหาให้มีส่วนในการแก้ไขปัญหาอย่าง

                       ยั่งยืน โดยถือเป็นการใช้อำานาจตามมาตรา ๒๕๗ (๗) ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                       พุทธศักราช ๒๕๕๐ และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒

                                     (๒.๒)  การให้ความสำาคัญกับการแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติในการประกอบอาชีพ
                       ของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่ต้นเหตุ คือ การขาดความรู้ความเข้าใจที่สำาคัญในเรื่องการติดต่อและสิทธิของ

                       ผู้ติดเชื้อเอชไอวี จึงจำาเป็นต้องให้ความสำาคัญกับมาตรการสร้างความรู้ความเข้าใจเพื่อการแก้ไขปัญหา
                       การละเมิดสิทธิ ส่งเสริมให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อสาธารณชนในเรื่องการติดเชื้อเอชไอวี

                       ความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นการขจัดมายาคติอันเป็นสาเหตุสำาคัญของ
                       การเลือกปฏิบัติ โดยในการรณรงค์ให้ความรู้ ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของ กสม. ควรผนวกเนื้อหา

                       ที่ครอบคลุมถึงสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งจำาเป็นต้องรวมไปถึงการเสริมความรู้เรื่องการติดเชื้อ
                       เอชไอวี ความก้าวหน้าในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี เพื่อเป็นการขจัดมายาคติอันเป็นสาเหตุสำาคัญ

                       ของการเลือกปฏิบัติ และจำาเป็นต้องให้ความรู้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้มีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
                       ต่อการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้ติดเชื้อเอชไอวีด้วย

                                     (๒.๓)  การเร่งดำาเนินการตรวจสอบและเสนอมาตรการการแก้ไขโดยเร็ว ในกรณีที่มี
                       ข้อร้องเรียนเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการประกอบอาชีพหรือเรื่อง

                       การศึกษา ซึ่งมีอิทธิพลต่อการประกอบอาชีพในอนาคต เพื่อให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีเข้าถึงการคุ้มครอง
                       สิทธิมนุษยชนอย่างรวดเร็ว  และในกรณีที่ กสม. ไม่สามารถแก้ไขปัญหาการเลือกปฏิบัติในการ

                       ประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อได้  ให้พิจารณาเสนอเรื่องไปยังกลไกในกระบวนการยุติธรรมตามบทบัญญัติ
                       ในรัฐธรรมนูญ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๗ (๒)) หรือศาลปกครอง (มาตรา ๒๕๗ (๓))

                       ในกรณีที่เป็นการละเมิดสิทธิจากภาครัฐ แล้วเป็นโจทก์ฟ้องคดีต่อศาลยุติธรรมในกรณีที่เป็นการละเมิด
                       สิทธิในภาคเอกชน (มาตรา ๒๕๗ (๔)) หรือเป็นโจทก์ร่วมฟ้องคดีกับผู้เสียหาย เพื่อสร้างบรรทัดฐาน

                       การไม่เลือกปฏิบัติและการคุ้มครองสิทธิในการประกอบอาชีพของผู้ติดเชื้อเอชไอวีในอนาคต
   235   236   237   238   239   240   241   242   243   244   245