Page 232 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 232

รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 231











                       เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการลงทุนสาขาธุรกิจค้าปลีกด้วยเช่นกัน นอกเหนือจากผลกระทบที่มีต่อร้านค้าปลีก

                       ดั้งเดิมแล้ว  ผลการศึกษาวิจัยยังได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบทางสังคมของการรับนโยบายการเปิดเสรี
                       ทางการค้า (ธุรกิจค้าปลีก) ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชน ซึ่งเป็นปัจจัย

                       สำาคัญต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชุมชนในระยะยาวอีกด้วย หากแต่การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลง
                       ที่เกิดขึ้นจากการปลุกปั่น มิได้เกิดขึ้นตามความต้องการของชุมชน และมีพยานหลักฐานที่ยืนยันว่า

                       สิทธิของชุมชนที่จะเลือกวิถีชีวิตที่เหมาะสม และความสุขทางสังคมที่ยั่งยืนได้ถูกทำาลายไป เพราะการ
                       ยอมรับให้กระบวนการค้าปลีกเข้าแทรกซึมวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อประโยชน์ทางการค้าและการค้ากำาไร
                       อย่างปราศจากข้อจำากัด ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางกฎหมายของต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น

                       ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า มีการใช้มาตรการทางกฎหมายในลักษณะของการกำาหนดรายละเอียด
                       ปลีกย่อยทางอ้อม ในการป้องกันผลกระทบของธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีต่อร้านค้าดั้งเดิมท้องถิ่น เช่น

                       การจัดระเบียบการจราจร การจัดระเบียบพื้นที่ตั้ง หรือมาตรการเพื่อความปลอดภัย เป็นต้น  งานวิจัยนี้
                       พบว่า มาตรการทางกฎหมายมิได้เป็นปัจจัยที่มีนัยสำาคัญในการปกป้องร้านค้าดั้งเดิมท้องถิ่น แต่ปัจจัย

                       ที่ทำาให้ธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ไม่กลืนกินร้านค้าปลีกดั้งเดิมท้องถิ่นหรือร้านค้ากลุ่มทุนชาติ ได้แก่
                       “การสร้างจิตสำานึกร่วมกัน” ของปัจเจกชน ชุมชน และสังคม ให้ตระหนักถึงคุณค่าในความดีของการมีอยู่

                       ของร้านค้าปลีกดั้งเดิมท้องถิ่น ซึ่งเปรียบได้กับ “กระดูกสันหลังของเศรษฐกิจชุมชน” และความงามของ
                       ความหลากหลายในการประกอบอาชีพของคนท้องถิ่น โดยยึดโยงกับกระบวนทัศน์เรื่องการพัฒนาที่สมดุล

                       อย่างยั่งยืนอันมีสิทธิมนุษยชนควบคู่กับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาประเทศสืบไป

                                 ทั้งนี้ จากผลการศึกษาวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ดังต่อไปนี้

                                 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                                 ควรทบทวนการอนุญาตในเรื่องการขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่โดยชะลอไว้เป็นการ
                       ชั่วคราวก่อน และพิจารณาถึงความเปราะบางของชุมชน  โดยรัฐต้องปกปักษ์รักษาสิทธิมนุษยชนควบคู่
                       ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจ ทิศทางพัฒนาประเทศของไทยควรวางอยู่บนกรอบความคิดเรื่อง “การพัฒนา

                       อย่างยั่งยืน” (Sustainable Development) ตามที่ได้กำาหนดอยู่ในแผนพัฒนาประเทศและแนวนโยบาย
                       พื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน รัฐต้องบูรณาการกรอบความคิดในการบริหารงานของภาครัฐ

                       โดยการบริหารปกครองของภาครัฐในระบอบประชาธิปไตยนั้น ต้องคำานึงถึงสิทธิในการพัฒนา ซึ่งมีหลัก
                       สำาคัญประการแรกว่า ภาครัฐมีหน้าที่จัดระเบียบทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพสังคม

                       และสิ่งแวดล้อม  ประการที่สอง ภาครัฐมีหน้าที่ต้องกระจายรายได้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่คนในสังคม
                       และประการสุดท้าย คือ การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน  นอกจากนี้ นโยบายข้างต้นต้องได้รับการถ่ายทอดไปสู่

                       หน่วยงานภาครัฐส่วนท้องถิ่น การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน
                       มีความจำาเป็นอย่างยิ่งยวดต่อการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่ภาคปฏิบัติอย่างจริงจังโดยก่อนที่จะดำาเนิน

                       มาตรการในทางปฏิบัติใด ๆ  ภาครัฐควรมีการชะลอการอนุญาตขยายตัวของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ไว้เป็น
                       การชั่วคราวก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่ารัฐมีกลไกคุ้มครองที่พร้อมเพรียงแล้ว
   227   228   229   230   231   232   233   234   235   236   237