Page 235 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 235
234 รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗
ที่ยั่งยืนและตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ และเสนอรายงานประจำาปีต่อรัฐสภา โดยเปิดเผยต่อประชาชน
ในประเด็น ดังต่อไปนี้
ประเด็นที่ ๑ นโยบายและการดำาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการคุ้มครองจากระเบียบ
ทางการเมือง สังคมและเศรษฐกิจที่เหมาะสมต่อการพัฒนา
ประเด็นที่ ๒ นโยบายและการดำาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการปรับปรุงคุณภาพชีวิต
ของประชาชนบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมและประชาชนได้รับความคุ้มครองต่อการกระจายผลประโยชน์
ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นธรรม
ประเด็นที่ ๓ นโยบายและการดำาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในเรื่องของโอกาส
ที่เท่าเทียมกันสำาหรับประชาชนทุกคน ในการเข้าถึงทรัพยากรพื้นฐาน การศึกษา การบริการสาธารณสุข
อาหาร ที่อยู่อาศัย การจ้างงานและการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม
ประเด็นที่ ๔ นโยบายและการดำาเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมระเบียบ
เศรษฐกิจใหม่ บนพื้นฐานความเสมอภาคเท่าเทียมกันการพึ่งพากันและกันและผลประโยชน์ร่วมกัน
(๓) ภาครัฐควรมีการดำาเนินการรายงานและแสดงผลการดำาเนินการ รวมทั้งปัญหา
และอุปสรรคในการดำาเนินการตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ เสนอต่อรัฐสภาปีละหนึ่งครั้งตามที่กำาหนด
ไว้ในรัฐธรรมนูญอย่างจริงจัง
๒) โครงการศึกษาวิจัย เรื่อง สิทธิชุมชนและผลกระทบโครงการพัฒนาภาคใต้
ผู้ศึกษาวิจัย : มหาวิทยาลัยรังสิต (ดร.อาภา หวังเกียรติ)
สาระสำาคัญของการศึกษาวิจัย
โครงการศึกษาวิจัยนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษานโยบายและการบริหารจัดการโครงการพัฒนา
ภาคใต้ และผลกระทบต่อสิทธิชุมชน และเพื่อจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการบริหารจัดการโครงการ
พัฒนาภาคใต้ เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน โดยเป็นการผสมผสานระเบียบวิธีวิจัยทั้งวิธีการศึกษาจากเอกสาร
(Documentary search) และวิธีการเชิงคุณภาพ (Quantitative analysis) ในการประเมินสถานการณ์
การคุกคามสิทธิชุมชน และจัดทำาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อทิศทางการพัฒนาภาคใต้ โดยมีการประเมิน
สถานการณ์สิทธิชุมชนกับผลกระทบจากโครงการพัฒนาภาคใต้ในพื้นที่ กรณีศึกษา ๔ จังหวัด ได้แก่ จังหวัด
ประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา และจังหวัดสตูล พบว่า มีการละเมิดและละเลย
ความสำาคัญของสิทธิของชุมชนในด้านต่าง ๆ ทั้งสิทธิในการกำาหนดอนาคตและเจตจำานงของตนเองและ
สิทธิในการพัฒนา ซึ่งแผนพัฒนาภาคใต้ถูกกำาหนดขึ้นจากรัฐส่วนกลางโดยที่ไม่มีประชาชน ชุมชนท้องถิ่น
ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเข้าไปมีส่วนร่วมในการกำาหนดและจัดทำา จึงละเลยสิทธิของชาวบ้านและชุมชน
ในการกำาหนดอนาคตและเจตจำานงของตนเองและสิทธิในการพัฒนา ส่งผลให้ชะตากรรมและชีวิตของ
ท้องถิ่นถูกกำาหนดมาจากองค์กรภายนอกทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ สิทธิในมาตรฐานการครองชีพ
จากการประกอบอาชีพที่อิงอาศัยกับความอุดมสมบูรณ์และความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ