Page 242 - รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทยและรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2557
P. 242
รายงานการประเมินสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในประเทศไทย และรายงานผลการปฏิบัติงานประจำาปี ๒๕๕๗ 241
คำาบอกเล่าผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในระยะเปลี่ยนผ่านของ
ประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗ เพื่อรับฟังปัญหา ความต้องการเยียวยา รับรู้อารมณ์ความรู้สึก
และการกระทำาที่ส่งผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและ
ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ตามแนวทางยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) และความยุติธรรม
ในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) โดยมี ผู้แทนสำานักงาน กสม. ร่วมรับฟังปัญหาและผลกระทบ
ที่เกิดแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย อันจะนำาไปสู่การเยียวยาหลากหลายรูปแบบ เพื่อวิเคราะห์ จัดทำารายงาน
การบันทึกคำาบอกเล่า ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรง และข้อเสนอแนะ
เสนอต่อ กสม. และเพื่อเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบันทึกคำาบอกเล่าผู้ได้รับผลกระทบ
จากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงให้กับบุคลากรของสำานักงาน กสม.
โดยที่นานาประเทศที่เคยผ่านความขัดแย้งครั้งใหญ่ของประเทศตนมาแล้ว ต่างได้รับ
คำาแนะนำาให้จัดทำาการสำารวจและบันทึกคำาบอกเล่าเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในระยะ
เปลี่ยนผ่านของประเทศขึ้นในโอกาสแรก ๆ ที่กระทำาได้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำารายงาน
การค้นหาความจริงของคณะกรรมการค้นหาความจริง หรือของหน่วยงานที่มีหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชน
อย่างไรก็ตาม รายงานการบันทึกคำาบอกเล่า โดยตัวเองไม่ใช่/ไม่มีสถานะเป็นรายงานการค้นหาความจริง
เนื่องจากคำาบอกเล่าของผู้ให้ข้อมูลแต่ละคนนั้น มีลักษณะเป็นชุดความจริงส่วนบุคคลในบริบทที่เขาประสบ
เหตุการณ์ และถ่ายทอดด้วยการบอกเล่าข้อมูลและบรรยากาศต่าง ๆ จากมุมที่เขามองเห็นหรือโลกทัศน์
ของเขาในเวลาและสถานะหนึ่ง ๆ เท่านั้น โดยผลการสำารวจและบันทึกคำาบอกเล่า ผู้ได้รับผลกระทบ
จากเหตุการณ์ความไม่สงบและความรุนแรงในระยะเปลี่ยนผ่านของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๕๖ - ๒๕๕๗
ประกอบด้วย
(๑) ผู้ให้ข้อมูลในการบันทึกคำาบอกเล่า
(๒) การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่พบในเหตุการณ์ความรุนแรงระหว่างเดือน
ตุลาคม ๒๕๕๖ - พฤษภาคม ๒๕๕๗
(๓) วิเคราะห์เหตุการณ์ความรุนแรงสำาคัญ ๆ ที่เกิดขึ้น