Page 64 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 64

62   ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


               คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายฯ ต่อไป  นอกจากนี้ สำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศกำาลังดำาเนินการ

               ประสานข้อมูลกับสำานักกฎหมายและคดี และจะเสนอความเห็นต่อคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ก่อนมี
               หนังสือแจ้งความเห็นอย่างเป็นทางการไปยังกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพต่อไป

                                     ๓.๓)  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๔ บัญญัติห้ามส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร
               หากเชื่อได้ว่าจะส่งผลให้บุคคลนั้นถูกกระทำาทรมานหรือถูกบังคับให้สูญหาย  แต่ในร่างพระราชบัญญัติฯ ยังไม่ได้

               กำาหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในเรื่องนี้ไว้  จึงอาจกำาหนดให้เป็นอำานาจหน้าที่ของคณะกรรมการตาม
               ร่างพระราชบัญญัติฯ ในการพิจารณาว่า บุคคลใดอยู่ในข่ายตามหลักการในมาตรา ๒๔  และในระยะต่อไปอาจ
               พิจารณาเสนอแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการไม่ส่งบุคคลกลับไปยังดินแดนที่อาจเป็น

               อันตราย เช่น กฎหมายการเนรเทศและกฎหมายคนเข้าเมือง เป็นต้น  นอกจากนี้ กรณีที่มาตรา ๒๕ ไม่ได้กำาหนด
               ให้มีผู้แทนของผู้เสียหายเป็นองค์ประกอบในคณะกรรมการตามร่างพระราชบัญญัติฯ นั้น เนื่องจากในการประชุม
               คณะทำางานแก้ไขกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ ซึ่งจัดที่กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ  คณะทำางานฯ

               ให้เหตุผลว่า อาจเชิญบุคคลดังกล่าวมาให้ความเห็นหรือให้คำาปรึกษาแก่คณะกรรมการฯ เป็นครั้งคราวได้อยู่แล้ว
               จึงไม่มีความจำาเป็นต้องกำาหนดให้ผู้แทนของผู้เสียหายเช่นว่ามาเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการตามร่าง

               พระราชบัญญัติฯ


                           ๔.๒.๒  ความเห็นที่ได้รับจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ

                                 กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรับฟัง
               ความคิดเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฯ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ๒๕๕๘ ณ โรงแรมรามาการ์เดนส์ ผู้เข้าร่วมประชุม

               ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาควิชาการและภาคประชาสังคม ดังมีรายละเอียด ดังนี้


                                 ๑)  น�งอังคณ� นีละไพจิตร ประธานมูลนิธิยุติธรรมเพื่อสันติภาพ ให้ความเห็น ดังนี้
                                     ๑.๑)  ในภาพรวม  ร่างพระราชบัญญัติฯ จะให้ความเป็นธรรมและทำาให้ผู้เสียหาย
               ได้รับการเยียวยา อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติฯ  ยังไม่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติ  เช่น  ๑)  กรณี

               ศพของผู้ถูกบังคับให้สูญหายถูกทำาลายซึ่งหากไม่พบศพผู้สูญหาย ก็ไม่อาจดำาเนินการนำาผู้กระทำาผิดมาลงโทษได้
               ๒) ปัญหาเรื่องสถานะทางกฎหมายของผู้ถูกบังคับให้สูญหายที่ไม่ชัดเจน ทำาให้คู่สมรสและบุตรที่ยังไม่บรรลุ
               นิติภาวะของผู้สูญหายได้รับผลกระทบเรื่องการทำานิติกรรมและการดำาเนินการเกี่ยวกับเอกสารราชการ เช่น การ

               จัดการทรัพย์สิน/หนี้สิน การทำาหนังสือเดินทางของบุคคลที่ไม่บรรลุนิติภาวะที่ต้องได้รับความยินยอมจากบิดา
               และมารดา ๓) กรณีบุคคลสูญหายไม่มีญาติพี่น้อง เช่น แรงงานข้ามชาติ อาจเกิดปัญหาว่าใครจะเป็นผู้เสียหาย
               ที่สามารถยื่นเรื่องร้องเรียนแทน

                                     ๑.๒)  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๕ องค์ประกอบของคณะกรรมการตามร่าง

               พระราชบัญญัติฯ ควรเพิ่มผู้แทนของผู้เสียหาย และควรคำานึงถึงสัดส่วนผู้หญิงและผู้ชาย  และมาตรา ๑๒
               ควรกำาหนดเพิ่มเติมเป็นวรรคสองว่า ไม่ให้มีการนิรโทษสำาหรับความผิดฐานบังคับบุคคลให้สูญหาย เนื่องจากเป็น
               ความผิดร้ายแรง


                                 ๒)  ผู้เข้�ร่วมประชุมเชิงปฏิบัติก�ร
                                     ๒.๑)  ร่างพระราชบัญญัติฯ ยังมีความไม่ชัดเจนบางประการ กล่าวคือ นิยามคำาว่า
   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69