Page 63 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 63

61
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                        ๒.๔)  ร่างพระราชบัญญัติฯ หมวด ๑ ได้กำาหนดบทลงโทษการกระทำาผิดคดีทรมาน

                  และคดีบังคับบุคคลให้สูญหายเป็นโทษจำาคุกและโทษปรับตามระดับความร้ายแรงของการกระทำาผิด โดยโทษ
                  จำาคุกตลอดชีวิตเป็นโทษสูงสุด อันสอดคล้องกับแนวคิดว่าด้วยการยกเลิกโทษประหารชีวิต  สำาหรับมาตรการ

                  ที่อาจนำามาใช้เพื่อให้สังคมมั่นใจว่าจะได้รับการคุ้มครองและจะไม่มีการปล่อยตัวผู้กระทำาผิดร้ายแรงคดีทรมาน
                  และคดีบังคับบุคคลให้สูญหายที่ต้องโทษจำาคุกหลายปี เร็วกว่าโทษที่กำาหนด โดยใช้ช่องทาง เช่น ขออภัยโทษนั้น
                  อาจนำาแนวทางของกฎหมายอาญาของประเทศฝรั่งเศสมาปรับใช้  โดยเพิ่มเติมข้อความว่า มิให้ใช้มาตรการอันเป็น

                  คุณแก่นักโทษเด็ดขาด จนกว่าระยะเวลารับโทษเกินกว่ากึ่งหนึ่งของโทษหรือภายในระยะเวลาที่กำาหนด เป็นต้น
                                        ๒.๕)  ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๑๒ ซึ่งเดิมกำาหนดอายุความเป็น ๓๐ ปี ต่อมา

                  ร่างปัจจุบันลดเป็น ๒๐ ปีนั้น เห็นว่าเหมาะสมแล้ว  เนื่องจากมาตราดังกล่าวให้เริ่มนับอายุความเมื่อการกระทำา
                  ความผิดตามพระราชบัญญัติฯ สิ้นสุด  และผู้ถูกทรมานหรือผู้ถูกบังคับให้สูญหายอยู่ในวิสัยหรือโอกาสที่จะ
                  ร้องทุกข์ได้  มาตรา ๒๔ ได้กำาหนดหลักการเรื่องห้ามส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร ซึ่งสอดคล้องตาม

                  หลักกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามส่งผู้เสียหายกลับประเทศ หรือไปประเทศอื่นที่อาจก่อให้เกิด
                  อันตรายต่อชีวิตหรือเสรีภาพของผู้นั้น (Non - Refoulement)  ส่วนข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

                  เช่น กฎหมายภายใต้ภารกิจของสำานักงานตรวจคนเข้าเมืองในคราวเดียวกัน เห็นว่าอาจแก้ไขได้ในโอกาส
                  ต่อไป และมาตรา ๓๒ (๔) ซึ่งกำาหนดให้คณะกรรมการตามพระราชบัญญัติฯ มีอำานาจหน้าที่ “ขอให้มีการระงับ
                  การทรมาน...” อาจเปลี่ยนจากคำาว่า “ระงับ” ที่อาจแปลความว่า ยุติชั่วคราว เป็นคำาว่า “ยุติ” ซึ่งมีความหมาย

                  ชัดเจนกว่า


                                    ๓)  ผู้แทนสำ�นักสิทธิมนุษยชนระหว่�งประเทศ  ได้ให้ข้อมูลและความเห็น ดังนี้
                                        ๓.๑)  ในการประชุมคณะทำางานแก้ไขกฎหมายภายในให้เป็นไปตามอนุสัญญาฯ

                  กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ เมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘  ฝ่ายเลขานุการของคณะทำางานฯ แจ้งว่า
                  ร่างพระราชบัญญัติฯ นี้ถือเป็นหนึ่งในร่างกฎหมายเร่งด่วนที่อยู่ในลำาดับความสำาคัญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง
                  ยุติธรรม ซึ่งกรมฯ จะได้นำาเสนอคณะรัฐมนตรีภายในเดือนมีนาคม ๒๕๕๘ ต่อไป  นอกจากนี้ กรมฯ ได้กำาหนด

                  กรอบระยะเวลาการให้สัตยาบันอนุสัญญา CPED ว่าภายหลังจากที่ร่างพระราชบัญญัติฯ ผ่านความเห็นชอบ
                  จากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และมีผลใช้บังคับ รัฐบาลก็จะดำาเนินการให้สัตยาบันอนุสัญญา CPED ต่อไป

                                        อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการเข้าเป็นภาคีพิธีสารเลือกรับของอนุสัญญา CAT ในชั้นนี้ยังไม่มี
                  ความคืบหน้ามากนัก เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจเห็นว่า สถานการณ์ในช่วงนี้ยังไม่เหมาะสมที่จะเข้าเป็น

                  ภาคีพิธีสารดังกล่าว
                                        ๓.๒)  คณะอนุกรรมการด้านสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ในคณะกรรมการ

                  สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้แต่งตั้งคณะทำางานเพื่อรณรงค์การให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วย
                  การคุ้มครองมิให้บุคคลถูกบังคับให้สูญหาย ที่มีนายแพทย์นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                  เป็นประธาน ได้รับทราบว่า กระทรวงยุติธรรมอยู่ในระหว่างการยกร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปราม

                  การทรมานและการบังคับให้บุคคลสูญหาย  อย่างไรก็ดี ผู้แทนสำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศได้แจ้งให้
                  ที่ประชุมคณะทำางานดังกล่าวทราบแล้วว่า  คณะอนุกรรมการด้านเสนอแนะนโยบายฯ อยู่ในระหว่างการศึกษา

                  ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในชั้นรายละเอียด  ซึ่งคณะทำางานดังกล่าวจะได้ประสานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ
   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67   68