Page 68 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 68

66  ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                  ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                          ๑.๒.๒)  กระบวนการพิจารณาคดีส่งผู้ร้ายข้ามแดน

                                                 (๑)  เมื่อจับบุคคลซึ่งถูกร้องขอให้ส่งข้ามแดนได้ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มี

               อำานาจซึ่งจับกุมผู้นั้นสอบถามความยินยอมให้ส่งข้ามแดน จัดทำาการแสดงความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษร
               แล้วให้พนักงานอัยการนำาคดีขึ้นสู่ศาลโดยมิชักช้า ให้ศาลดำาเนินการพิจารณาคดีอย่างต่อเนื่อง เมื่อศาลพิเคราะห์
               พยานหลักฐาน แล้วมีคำาสั่งให้ปล่อยหรือขังบุคคลนั้นเพื่อส่งข้ามแดน  ๑๗

                                                 (๒)  เมื่อศาลชั้นต้นมีคำาสั่งให้ปล่อยหรือขังบุคคลเพื่อส่งข้ามแดน
                                                                                                ๑๘
               พนักงานอัยการหรือบุคคลนั้นอาจยื่นอุทธรณ์คำาสั่งไปยังศาลอุทธรณ์ คำาพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด

                                 ๒)  พระร�ชบัญญัติคว�มร่วมมือระหว่�งประเทศในเรื่องท�งอ�ญ� พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้

               กำาหนดแนวทางพิจารณาคำาร้องและวิธีการโอนบุคคลที่ถูกคุมขังเพื่อเป็นพยาน ดังนี้
                                     ๒.๑)  เมื่อได้รับคำาร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ให้ผู้ประสานงานกลาง

               (อัยการสูงสุดหรือผู้ซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมาย) พิจารณาและวินิจฉัยตามแนวทางที่กำาหนด  แล้วส่งเรื่องให้
                           ๑๙
               คณะกรรมการ   เพื่อพิจารณาให้ความเห็น  กรณีคณะกรรมการมีความเห็นไม่สอดคล้องกับคำาวินิจฉัยของ
               ผู้ประสานงานกลาง  ให้ผู้ประสานงานกลางเสนอความเห็นและคำาวินิจฉัยไปยังนายกรัฐมนตรี  คำาวินิจฉัยของ
                                                                      ๒๐
               ผู้ประสานงานกลางถือเป็นยุติ เว้นแต่นายกรัฐมนตรีมีคำาสั่งเป็นอย่างอื่น
                                     ๒.๒)  กรณีได้รับคำาร้องขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศให้ส่งบุคคลซึ่งถูกคุมขัง

               ในประเทศไทยไปเบิกความเป็นพยานในประเทศผู้ร้องขอ หรือขอส่งบุคคลซึ่งถูกคุมขังในประเทศผู้ร้องขอมา
               เบิกความเป็นพยานในประเทศไทย  ถ้าผู้ประสานงานกลางพิจารณาเห็นว่าจำาเป็นและบุคคลซึ่งถูกคุมขัง

               สมัครใจ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ผู้มีอำานาจ (อธิบดีกรมราชทัณฑ์) ส่งตัวบุคคลนั้นไปยังประเทศผู้ร้องขอ  หรือรับตัว
               บุคคลนั้นจากประเทศผู้ร้องขอเข้ามาในประเทศไทย  ๒๑

                                     ๒.๓)  เมื่อบุคคลที่ถูกคุมขังซึ่งถูกส่งตัวมาจากต่างประเทศเพื่อเบิกความเป็นพยาน
               ในประเทศไทย เบิกความเสร็จ ให้เจ้าหน้าที่ผู้มีอำานาจแจ้งผู้ประสานงานกลางเพื่อส่งตัวบุคคลนั้นกลับไปยังประเทศ

               ผู้ร้องขอทันที  ๒๒










               ๑๗  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๑๘, ๑๙ และ ๒๗
               ๑๘  พระราชบัญญัติส่งผู้ร้ายข้ามแดน พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๒๑
               ๑๙  พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๘ ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทน
                   กระทรวงกลาโหม  ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ  ผู้แทนกระทรวงมหาดไทย  ผู้แทนกระทรวงยุติธรรม  ผู้แทนสำานักงานอัยการสูงสุด
                   และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นไม่เกินสี่คน  ซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ  และให้ข้าราชการอัยการคนหนึ่งตามที่คณะกรรมการแต่งตั้งเป็น
                   เลขานุการ เพื่อให้ความเห็นประกอบการพิจารณาและวินิจฉัยของผู้ประสานงานกลาง......................
               ๒๐  พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๖, ๘ และ ๑๑
               ๒๑  พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๖
               ๒๒  พระราชบัญญัติความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา พ.ศ. ๒๕๓๕ มาตรา ๒๙
   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73