Page 69 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 69

67
                                              ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
                                                     ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  เล่ม ๒  ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘


                                        ส่วน พระร�ชบัญญัติป้องกันและปร�บปร�มก�รมีส่วนร่วมในองค์กรอ�ชญ�กรรม

                  ข้�มช�ติ พ.ศ. ๒๕๕๖ อันเป็นหนึ่งในกฎหมายรองรับสนธิสัญญาระหว่างประเทศทางอาญามีเหตุผล
                  ในการประกาศใช้ว่า  เนื่องจากประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับการประกอบอาชญากรรมที่มีลักษณะเป็นองค์กร

                  อาชญากรรมข้ามชาติ  ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยและความมั่นคงของประเทศ  แต่กฎหมายที่มีอยู่
                  ไม่สามารถใช้บังคับเพื่อดำาเนินคดีกับการกระทำาผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติได้อย่างมี
                  ประสิทธิภาพ ประกอบกับประเทศไทยได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
                                                                                      ๒๓
                  ที่จัดตั้งในลักษณะองค์กรจึงควรกำาหนดลักษณะความผิดให้ครอบคลุมการกระทำาดังกล่าว

                                        เมื่อพิจารณาบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้เห็นว่าเป็นการกำาหนดวิธีการสืบสวน
                  สอบสวนการกระทำาความผิดฐานองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติที่กระทำาในประเทศไทย และไม่มีบทบัญญัติ
                  เกี่ยวกับการส่งตัวบุคคลออกนอกราชอาณาจักร จึงไม่อยู่ในข่ายของกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งตัวบุคคลออกนอก

                  ราชอาณาจักร

                             ๔.๓.๓  การส่งตัวบุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ออกนอกราชอาณาจักร

                  ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มีวิธีการ ดังนี้

                                    ๑)  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่จัดให้มีการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้เสียหายระหว่างอยู่
                  ในความดูแลทั้งก่อน ขณะ หรือหลังดำาเนินคดี  และให้คำานึงถึงความปลอดภัยของบุคคลในครอบครัวด้วย

                  ถ้าผู้เสียหายต้องเดินทางกลับประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่หรือภูมิลำาเนา หรือถ้าบุคคลในครอบครัวผู้เสียหายอาศัย
                  ในประเทศอื่น ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานในประเทศนั้น เพื่อให้มีการคุ้มครองความปลอดภัย

                  ให้แก่ผู้เสียหายและบุคคลในครอบครัวอย่างต่อเนื่องในประเทศนั้น  ๒๔

                                    ๒)  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งตัวผู้เสียหายซึ่งเป็นคนต่างด้าวกลับประเทศที่เป็นถิ่นที่อยู่
                  หรือภูมิลำาเนาโดยไม่ชักช้า เว้นแต่เป็นผู้ได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมาย ว่าด้วยคนเข้าเมือง
                  หรือเป็นผู้ได้รับการผ่อนผันให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้

                  ให้คำานึงถึงความปลอดภัยและสวัสดิภาพของบุคคลนั้น  ๒๕



                  ๕.  หลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


                        ๕.๑  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช ๒๕๕๗ มาตรา ๔ ประกอบ
                             รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐

                             ม�ตร� ๓๒  บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

                             การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำามิได้





                  ๒๓  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ หมายเหตุท้ายพระราชบัญญัติ
                  ๒๔  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๖
                  ๒๕  พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. ๒๕๕๑ มาตรา ๓๘
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74