Page 60 - ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายและข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ : เล่ม 2 ระหว่าง มกราคม - มิถุนายน 2558
P. 60
58 ประมวลรายงานผลการพิจารณาเพื่อเสนอแนะนโยบายหรือข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมาย และกฎ
ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เล่ม ๒ ระหว่าง มกราคม – มิถุนายน ๒๕๕๘
๔.๒ ความเห็นของหน่วยงานและบุคคลที่เกี่ยวข้อง
๔.๒.๑ ความเห็นที่ได้จากการรับฟังความเห็น
คณะอนุกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ได้เชิญรองศาสตราจารย์ ณรงค์ ใจหาญ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์
ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำาคัญในการจัดทำา
ร่างพระราชบัญญัติฯ และผู้แทนสำานักสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ สำานักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน
แห่งชาติ เข้าร่วมหารือและให้ความเห็นต่อร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ดังมีรายละเอียด ดังนี้
๑) รองศ�สตร�จ�รย์ ณรงค์ ใจห�ญ ให้ความเห็น ดังนี้
๑.๑) การอนุวัติกฎหมายไทยให้สอดคล้องตามอนุสัญญา CAT และอนุสัญญา CPED
สามารถทำาได้ ๒ แนวทาง คือ การแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา และการบัญญัติเป็นกฎหมายเฉพาะ
ซึ่งกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพใช้ทั้งสองแนวทาง อย่างไรก็ตาม แนวทางแรกมีข้อจำากัด คือไม่อาจนิยาม
คำาว่า “ทรมาน” ให้ครอบคลุมความหมายตามอนุสัญญา CAT และไม่มีนิยามคำาว่า “การลงโทษอื่นที่โหดร้าย
่
ไร้มนุษยธรรม หรือที่ยำายีศักดิ์ศรี” ต่อมา กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพพิจารณาเห็นว่า อนุสัญญา CAT และ
อนุสัญญา CPED มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน จึงใช้การอนุวัติกฎหมายภายใน โดยนำามาบัญญัติรวมกันเป็นกฎหมายเฉพาะ
๑.๒) อนุสัญญา CAT มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกันการกระทำาทรมานและประกันว่า
การกระทำาทรมานเป็นความผิดทางอาญา ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับ
บุคคลให้สูญหายฯ จึงกำาหนดให้มีคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการบังคับบุคคลให้
สูญหายขึ้น มีอำานาจหน้าที่เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีหรือหน่วยงานของรัฐให้ปรับปรุงกฎหมาย กฎ
มาตรการ กำาหนดนโยบายแผนงาน ขอให้ระงับการทรมาน สืบสวนสอบสวนข้อร้องเรียน ช่วยเหลือเยียวยา
ผู้เสียหายทางการเงินและทางจิตใจ กำาหนดมาตรการคุ้มครองพยาน ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เรื่องนี้ และ
จัดทำารายงานผลการดำาเนินการประจำาปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
๑.๓) ร่างพระราชบัญญัติฯ ได้กำาหนดบทลงโทษสำาหรับการกระทำาความผิดฐาน
การทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหายให้ชัดเจน มีเหตุเพิ่มโทษกรณีผู้เสียหายเป็นเด็กและผู้หญิง มีมาตรการ
ป้องกันการทรมานและการบังคับบุคคลให้สูญหาย มีกระบวนการดำาเนินคดีทรมานและคดีบังคับบุคคลให้สูญหาย
โดยให้คำานึงถึงหลักประสิทธิภาพ และหลีกเลี่ยงมิให้เกิดความขัดกันของตำาแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหากับ
ผู้ให้ความช่วยเหลือสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติหน้าที่/พนักงานสอบสวน ซึ่งกำาหนดไว้มาตรา ๓๗ มาตรา ๓๘
วรรคหนึ่ง ตามลำาดับ
๑.๔) ส่วนการฟ้องคดีต่อศาล คณะทำางานแก้ไขกฎหมายภายในให้เป็นไปตาม
อนุสัญญาฯ กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ในการประชุมเมื่อวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘ ได้แก้ไขจากเดิมที่ให้
พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบเสนอความเห็นต่อพนักงานอัยการคดีพิเศษ พิจารณาฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลอาญา
(ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๓๙) เป็น ในกรณีทั่วไปให้ฟ้องศาลจังหวัด ส่วนกรณีการกระทำาผิดที่เกิดนอก
ราชอาณาจักรและอยู่ในเขตอำานาจศาลไทยให้ฟ้องศาลอาญา นอกจากนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ มาตรา ๒๒
และ ๒๓ บัญญัติให้สามารถยื่นคำาร้องต่อศาลอาญาในท้องที่เพื่อไต่สวนคดี เมื่อมีการอ้างว่ามีบุคคลถูกทรมาน
รวมทั้งสามารถร้องขอให้ปล่อยตัวผู้ถูกจำากัดเสรีภาพ (คุมขัง) โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา (ป.วิ.อาญา) มาตรา ๙๐ ได้